กินกู้โลก : เมื่อนักปั่นก็ช่วยโลกได้ด้วยอาหารที่เราเลือกกิน

ทุกคำในมื้ออาหาร มีความสำคัญกับเราแค่ไหน? 

ผมตั้งคำถามนี้ให้คุณตอบกันในใจก่อนนะครับ และคำตอบก็คงจะมีหลากหลาย ว่าเรากินเพื่ออิ่ม อิ่มไม่พอยังต้องอร่อย อร่อยไม่พอยังต้องมีสารอาหารที่มีประโยชน์อีก 

และยิ่งเราๆ ซึ่งเป็นนักปั่นกันด้วยแล้ว เรื่องอาหารกับโภชนาการเป็นเรื่องที่ต้องถึงกับลงรายละเอียดกันเลยทีเดียว โภชนาการเป็นเรื่องสำคัญระดับพื้นฐานของนักปั่น เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่ร่างกายจะนำไปใช้ตลอดระยะเวลาของทุกกิจวัตร และยิ่งช่วงเวลาที่ยังอยู่บนอานจักรยานด้วยแล้ว การเรียนรู้ที่จะเติมสารอาหารที่เหมาะกับพลังงานที่ต้องถูกใช้ไป เป็นเรื่องที่อาจต้องทำการถึงขั้นพลิกตำราหาสูตรกันเลยทีเดียว เพราะเรื่องโภชนาการนั้นมีผลต่อนักปั่น ตั้งแต่ก่อนปั่น ระหว่างปั่น จนกระทั่งฟื้นฟูร่างกายหลังทะยานเข้าหน้าเส้นได้สำเร็จ 

แต่ถ้าหากจะว่ากันด้วยเรื่องอาหารการกินแล้ว เราก็อยากจะชวนคิดต่อกันไปอีกนิด ว่าสิ่งที่เราบริโภคกันอยู่นั้น นอกจากได้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อเฉพาะตัวเราเองแล้ว มีอะไรที่เราจะคืนประโยชน์ให้กับโลกได้ด้วยหรือเปล่า จากอาหารทุกคำที่เรากินนี่แหละ

ได้ด้วยเหรอ? คิดเยอะไปหรือเปล่า? แค่อาหารคุณภาพ ปลอดภัย เท่านั้นไม่พอเหรอ?

บอกไปแล้วครับว่าเราอยากชวนคิดต่อ ดังนั้นแค่อาหารคุณภาพและปลอดภัย ไม่พอสำหรับพวกเรานักปั่น ที่ต้องการอากาศดีๆ สิ่งแวดล้อมดีๆ เพื่อการปั่นที่สนุกและปลอดภัยกับเราด้วยเช่นกัน แต่เรื่องที่เราต้องยอมรับกันอยู่ในตอนนี้คือ ในภาวะปัจจุบันโลกเรามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพอากาศ และส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมโดยรวมไปแล้ว มองย้อนกลับมาที่พฤติกรรมของเราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามีส่วนสร้างปรากฏการณ์นี้ขึ้นด้วยกันทั้งนั้น เมื่อยืดอกยอมรับได้แล้ว จะมีทางไหนที่เราจะช่วยลดภาระให้โลกได้บ้าง สำหรับผมเองก็เห็นจะต้องเริ่มจากการกินนี่ละครับ 

เดี๋ยวนี้เรามีวัตถุดิบปรุงอาหารและอาหารสำเร็จรูปให้เลือกได้สะดวกในทุกที่ แต่ถ้าเราเจาะจงลงไปอีกนิด เลือกอาหารจากผู้ผลิตที่ให้ความสำคัญกับต้นทางที่มาที่เป็นมิตรกับโลก นั่นก็เท่ากับเราได้สนับสนุนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีด้วย ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดตอนนี้ คือการตื่นตัวของผู้นำด้านการผลิตอาหารอย่างซีพีเอฟ ที่มีนโยบายหลักในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ผลิตอาหารคุณภาพดี สด สะอาด ปลอดภัย และตรวจสอบไปถึงห่วงโซ่การผลิดได้ ด้วยสามเสาหลักแห่งความยั่งยืนคือ ‘อาหารยั่งยืน สังคมพึ่งตน ดินน้ำป่าคงอยู่’ ซึ่งเป็นกลไกในการผลิตที่ยึดมาตรฐานสากล ที่จะสนับสนุนให้เกิดวงจรการบริโภคที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นกระบวนการ และนำมาสู่อาหารทุกคำที่มีความหมายมากกว่าอร่อย ปลอดภัย ได้พลังงาน

 

เพราะทุกคำที่เราใส่ใจเลือก ก็เท่ากับว่าเรากำลังใส่ใจโลกด้วย ส่วนจะใส่ใจในแง่ไหน เราจะขอขยายความให้เห็นภาพและรายละเอียดอย่างชัดเจน ในประเด็น ‘อาหารยั่งยืน โลกยั่งยืน’ กันครับ

June 9, 2018 cyclinghub 0 Comment