น่

เปิดด้วยส่วนหนึ่งจากประกาศ กพท.(สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย) ว่าด้วยเรื่องของการนำแบตฯเดินทางไปกับสายการบิน

าจะพอผ่านตากันไปแล้วกับกรณีดราม่า นักไตรกีฬาทีมชาติไทย ที่ต้องตกเครื่องเพราะเจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้โหลดจักรยานที่นำไปแข่งขันซีเกมส์กลับมา เนื่องจาก จักรยานนี้เป็นระบบเกียร์ไฟฟ้าและมีแบตเตอรี่ติดตั้งอยู่ภายในจักรยาน หลังจากทำการชี้แจงกับเจ้าหน้าที่อยู่นานสุดท้ายก็ไม่เป็นผลและทำการถ่ายคลิปลงโซเชียล ทำให้สังคมโซเชียลเดือดดาลพาทัวร์มาลงนักกีฬากันว่า “โง่”  … กับประเด็น”แบตเตอรี่” ไม่สามารถโหลดขึ้นเครื่องไปได้ และนี่คืออีกหนึ่งความเข้าใจที่ผิดของสังคมซึ่งใช้วิธีคนหมู่มากเข้ารุมกระหน่ำโดยที่ไม่รู้รายละเอียด มิหนำซ้ำ ยังมีสื่อใหญ่นำไปขยี้ข่าวลงเผยแพร่โดยไม่ทำการตรวจสอบกันก่อน วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันครับว่า อะไรคือเนื้อหาสำคัญของการพิจารณาเรื่องนี้ แบบมีสติ

ตามระเบียบของ ICAO หรือ International Civil Aviation Organization หรือองค์การการบินพลเรือนนานาชาติ ที่ควบคุมระเบียบข้อบังคับการบินพลเรือนในระดับนานาชาติ โดยมีสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่ตามข้อกำหนดนั้นๆควบคุมการบินพลเรือนในประเทศไทย ได้ระบุชัดเจนว่าอุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่ไม่สามารถนำไปโหลดขึ้นเครื่องได้ด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัย แต่ในรายละเอียดยังมีการระบุเอาไว้ปลีกย่อยอีกว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่แบ่งออกเป็น 2 จำพวกหลักได้แก่ อุปกรณ์ืี่มีแบตเตอรี่ภายในตัวเครื่อง และอุปกรณ์ที่สามารถถอดแบตเตอรี่แยกออกจากตัวเครื่องได้ ซึ่งในประเภทที่ 2 นั้น หากสามารถถอดแยกชิ้นกันได้ก็จะให้ถอดและถือขึ้นเครื่องไป ซึ่งก็ต้องมีความจุไม่เกินที่กำหนดอีกเช่นกัน และสำหรับประเภทที่ 1 ล่ะ จะเป็นอย่างไร? เพราะมีอุปกรณ์มากมายที่มีแบตเตอรี่ในตัว สามารถนำไปโหลดได้ ซึ่งมีข้อกำหนดอยู่ว่า ความจุของแบตเตอรี่นั้นต้องมีขนาดการจ่ายไฟไม่เกิน 100Wh สามารถโหลดขึ้นไปได้ ส่วนแบตเตอรี่ที่มีความจุ 100-160Wh ต้องมีเจ้าหน้าที่ทำการยืนยันก่อนจึงจะสามารถโหลดขึ้นไปได้

ทั้งนี้ แบตเตอรี่ของเกียร์ไฟฟ้า Shimano Di2  ทำการติดตั้งอยู่ภายในเฟรมของจักรยาน เดินสายไฟเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ การประกอบหรือแยกชิ้นส่วนจำเป็นต้องมีเครื่องมือ ถอดรื้อจักรยานออกเป็นชิ้น และดึงแบตเตอรี่ออกจากสายไฟก่อนประกอบจักรยานกลับเข้าไปใหม่ ไม่แตกต่างอะไรจากคอมพิวเตอร์แล็บท็อป ดังนั้นจึงควรตีความว่าจักรยานเกียร์ไฟฟ้านี้เป็นอุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่ติดตั้งภายในไม่สามารถถอดแยกชิ้นออกมาได้ และสามารถนำไปโหลดได้ โดยพิจารณาความจุของแบตเตอรี่ Shimano Di2 อยู่ที่ 3.7Wh แล้วถือว่าห่างไกลจากพิกัดความจุที่กำหนดไว้อย่างมาก จึงไม่ควรเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น เพราะความจุนี้ มีน้อยเสียยิ่งกว่าเมาส์คอมพิวเตอร์ที่ชาร์จแบตฯได้ในตัวเสียด้วยซ้ำ

 

ปัญหานี้คาดว่าเกิดจากความสับสนของเจ้าหน้าที่ระหว่าง”จักรยานไฟฟ้า” และ จักรยานเกียร์ไฟฟ้า เนื่องจากจักรยานไฟฟ้าไม่สามารถโหลดขึ้นเครื่งอบินได้ดดยมีระบุเอาไว้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม จักรยานที่มีเกียร์ไฟฟ้าไม่ใช่จักรยานไฟฟ้าซึ่งมีระบบขับเคลื่อนส่งกำลังหรือมอเตอร์ที่ทำหน้าที่ออกแรงช่วยขับเคลื่อนไปได้ ด้านจักรยานเกียร์ไฟฟ้า หมายถึงระบบทดเกียร์ที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็กมากๆขยับให้โซ่วิ่งไปตามอัตราทดเกียร์ต่างๆที่ผู้ขี่ต้องการด้วยการกดปุ่มแทนการดึงสายเคเบิลเพื่อปรับตำแหน่งทดเกียร์ตามเดิม ดังนั้นแบตเตอรี่ที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานนี้จึงมีขนาดเล็กมากๆ เพราะความต้องการกำลังไฟฟ้าของระบบดังกล่าวก็มีเพียงน้อยนิดเช่นกัน ขนาดความจุ 3.7Wh ของ Shimano Di2 นั้น สามารถใช้งานได้ยาวนาน 3-6 เดือนต่อการชาร์จไฟแต่ละครั้งเลย

 

รวมถึงความสับสนของดลกโซเชียลที่อ้างอิงตามประกาศของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน ว่าด้วยเรื่องของ แบตเตอรี่”สำรอง” หรือเรียกกันง่ายๆคือ”พาวเวอร์แบงค์” มีการระบุถึงขนาดในการถือขึ้นเครื่อง รวมถึงย้ำชัดเจนว่า”ไม่สามารถ” โหลดไปใต้เครื่องได้ ทั้งนี้เนื่องจาก แบตเตอรี่สำรองจัดอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์แบตเตอรี่พกพาหรือใช้คำว่า ญนพะฟิสำ  ฺฟะะำพั ไม่อยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่ทั้งแยกและในตัวดังกล่าวมา

ใครอยากรู้ว่าเนื้อหาประกาศของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยลองดาวน์โหลดประกาศระเบียบการว่าด้วยการพกพาขนส่งเดินทางกับแบตเตอรี่ไปอ่านดูตัวเต็มๆได้ครับ

https://www.caat.or.th/wp-content/uploads/2016/09/ประกาศ-กพท.-เรื่อง-หลักเกณฑ์การพาแบตเตอรี่ลิเธียมไปกับอากาศยาน-พ.ศ.-2559.pdf

May 31, 2022 cyclinghub 0 Comment