ใจไม่ใจ มาดูเรื่องของหัวใจกับความร้อน

เมษามหาร้อน มาถึงอีกแล้ว ได้เวลารื่นเริงบันเทิงหัวใจไปด้วยกันกับอุณหภูมิที่แสนจะเดือด ช่วยทำให้การปั่นจักรยานของเรา เต็มไปด้วยสีสัน ความมันส์ หรรษา ช่ววนี้แหละ ใครไม่ใจ ใครตัวจริง ก็จะได้เห็นกัน แต่ จะใจขนาดไหน วันนี้ เรามาอธิบาย สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายของนักปั่น เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทะลุขีด เพื่อทำความเข้าใจและ เตรียมใจ เตรียมตัว ให้พร้อม จัดการกับความเดือด เพื่อให้เราสามารถปั่นจักรยานได้อย่างสนุก และ ปลอดภัย อย่าได้เกิดเหตุไม่คาดฝันในการปั่นจักรยานด้วยกัน

มนุษย์ คือสัตว์เลือดอุ่น ที่มีอุณหภูมิร่างกายที่ระบบต่างๆสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ 37 องศาเซลเซียส และมีช่วงขอบเขตที่เหมาะสมแคบๆเท่านั้น หากอุณหภูมิสูง หรือต่ำเกินไปเพียง บวกลบ 1 องศาเซลเซียส ระบบต่างๆก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดิม และ เข้าสู่ภาวะวิกฤติเมื่ออุณหภูมิสูงหรือต่ำไปกว่านั้นมากขึ้น ดังนั้น ร่างกายของเรา จึงมีระบบการรับมือกับอุณหภูมิภายนอกที่แสนชาญแลาด

เมื่อร่างกายของเราเริ่มร้อนขึ้นจากการทำงาน เช่นกล้ามเนื้อที่ขยับออกแรง จนเกิดความร้อน เราจะพยายามลดความร้อนของร่างกายด้วยการผลิตเหงื่อออกมาทางผิวหนัง และเหงื่อ จะช่วยพาความร้อนจากร่างกายมาสู่ภายนอก เพื่อถ่ายเทไปสู่สิ่งแวดล้อม ยิ่งเหงื่อระเหยออกไปมากเท่าไหร่ ร่างกายก็ลดความรี้อนลงได้ไวขึ้น

ระบบนี้ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่ออุณหภูมิแวดล้อม ต่ำกว่า 37 องศา เพราะเมื่อความร้อนของร่างกายถูกส่งออกมา เจออุณหภูมิแวดล้อมที่ต่ำกว่า ก็ช่วยถ่ายเทความร้อนออกไปจากระบบร่างกาย แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า หากอุณหภูมิแวดล้อม สูงกว่า 37 องศา อะไรจะเกิดขึ้น? เมื่อร่างกายร้อนขึ้น เหงื่อออกมา มาเจอกับอากาศที่”ร้อนกว่า” แทนที่ร่างกายจะเย็นลง ระบบจะเป็นอย่างไร?

จริงๆเราสบายใจได้หน่อยนึงเนื่องจาก แม้ว่าอุณหภูมิภายนอกจะเท่าหรือสูงกว่าร่างกายนิดหน่อย แต่ เรายังมีปัจจัยช่วยในการระบายถ่ายเทความร้อนด้วยปัจจัยการระเหยของเหงื่อบนผิวหนัง ไดแก่ความชื้น และ กระแสลมนั่นเอง คล้ายๆกับที่แม้วันนี้จะร้อนระอุ อุณหภูมิพุ่งขึ้นไปกว่า 37 องศา แต่ก็ยังรู้สึกสบายตัวได้หน้าพัดลม หรือ พื้นที่ซึ่งมีกระแสลมแรงพัดผ่านตัวเรา ลมนีี้เองครับ ที่ช่วยให้ความร้อนถูกระบายออกไปได้แม้อากาศแวดล้อมจะร้อนกว่าตัวเรา

แต่ ปัญหามันอยู่ที่ หากร้อนขึ้นไปอีกล่ะ? หากอากาศมีความชื้น หรือ กระแสลม ไม่ได้แรงขนาดถึงจุดที่สบาย ร่างกายของเราจะทำอย่างไรต่อไป?

คำตอบก็คือ ร่างกายของเรา ยังคงแสนฉลาดและไม่ยอมแพ้ เมื่อการระบายความร้อนออกทางเหงื่อและผิวหนังทำได้มีประสิทธิภาพน้อยลง ร่างกายก็จะพยายามช่วยชดเชยด้วยการ ปั๊มเลือดให้ผ่านไหลเวียนไปบนผิวหนังได้มากขึ้น เร็วขึ้น หลอดเลือดใกล้ผิวหนัง ขยายตัว ส่งผลให้เวลาร้อนมากๆ จะเห็นว่า ตัวเราจะแดงขึ้น เลือดที่ผ่านมาส่งความร้อนออก คลายร้อนไหลเวียนไปในร่างกายเร็วเท่าไหร่ ปัญหาโอเวอร์ฮีทของร่างกายก็ลดลง และ กระบวนการนี้เอง ที่ทำให้หัวใจ เต้นเร็วขึ้น ชีพจรถี่ขึ้น แม้ว่าร่างกายไม่ได้มีงานหนัก หรือโหลดเพิ่มขึ้น เพียงแค่ร้อนขึ้น หัวใจก็รัวขึ้นได้

ยิ่งร้อน ยิ่งระบายความร้อนช้า หัวใจก้ยิ่งรัว ยิ่งเราออกแรงปั่นจักรยานมากขึ้น ร่างกายก็ยิง่ต้องทำงานหนักขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ก็ยิ่งร้อน ยิ่งร้อนก็ยิง่เต้นเร็วอีก  ผลที่ได้ก็คือ หัใจสูงลิ่วอย่างน่าตกใจ ซึ่ง หัวใจของเรานั้น เป็นเครื่องยนต์ที่มีข้อจำกัดของการทำงานเสียด้วย เพราะกล้ามเนื้อหัวใจ จะไม่สามารถเต้นเร็วข้าม”ขีดจำกัด” ได้ และ ถ้ายิ่งออกแรง ยิ่งร้อน ยิ่งระบายความร้อนไม่ทัน หัวใจที่ยิ่งถี่ยิบๆ ขึ้นเรื่อยๆจนเกินความถี่ที่รับไหว ก็ตามมาด้วย เหตุไม่คาดฝันที่น่าเศร้านั่นเอง

ยังไม่นับว่า เมื่อหัวใจเราเต้นเร็วมากๆ บ่อยครั้งพบว่า ปริมาณเลือดที่ได้จากการปั๊มที่รัวถี่ยิบนั้น ไม่ได้ผลรวมเท่าที่ควร เช่น หากหัวใจเต้นปกติหนึ่งครั้ง ได้เลือดไหลผ่านปริมาณ ๅ ฟหน่วย แต่หากหัวใจเต้นถี่มากๆ การปั๊มเลือดหนึ่งครั้ง อาจได้ปริมาณเลือดไม่ถึง 1 หน่วยเท่าเดิม จากการบีบและคลายตัวที่เร็วมาก เร็วจนไม่ได้บีบและคลายตัวสุดอย่างปกติที่เคยๆเป็น เมื่อถี่แล้วยังไม่พอ ก็ยิ่งต้อง ถี่ขึ้นไปอีก ยังไม่นับว่า พอถี่มากๆเข้า กล้ามเนื้อหัวใจแต่ละห้อง ก็อาจล้า และทำงานไม่สอดคล้องกันเกิดเป็นปัญหาหัวใจเต้นผิดจังหวะนะครับ

ดังนั้น ในสภาวะแวดล้อมสุดร้อนแรง กับการปั่นจักรยานของพวกเรานั้น ร่างกายจะร้อนจากการทำงานภายใน และ ระบายความร้อนออกได้ช้ามาก ชีพจรจึงเต้นเร็วกว่าปกติ เสียน้ำไปมากกว่าปกติ จากระบบการระบายความร้อนด้วยเหงื่อ ทางออกที่ช่วยให้เรายังสามารถปั่นจักรยานได้ตามต้องการ ตามใจหวังก็คือ ช่วยร่างกายลดอุณหภูมิ ถ่ายเทความร้อนออกไปให้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้

Israel-Premier Tech team’s British rider Chris Froome cools down with water as he cycles the ascent of the Col de la Croix de Fer during the 12th stage of the 109th edition of the Tour de France cycling race, 165,1 km between Briancon and L’Alpe-d’Huez, in the French Alps, on July 14, 2022. (Photo by Marco BERTORELLO / AFP) (Photo by MARCO BERTORELLO/AFP via Getty Images)

1.ลดความหนักลง

ในเมื่อออกแรงเข้มข้นเท่าเดิม หนักเท่าเดิม แล้วร่างกายมันร้อนจัด ระบายไม่ทันจริงๆ ทางออกแรกก็คือ ลดงานมันซะเลย ต้นกำเนิดความร้อนก็ลดลง และ ช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้ในที่สุด ชีพจรก็จะลดลงเอง

2.ใช้น้ำช่วยลดความร้อน

เครื่องยนต์ยังมีหม้อน้ำ ซีพียูยังมีระบบน้ำลดความร้อน ร่างกายของเราก็สามารถใช้น้ำช่วยลดความร้อนได้เช่นกัน โดยการช่วยให้น้ำอาบไปบนผิวหนัง เพื่อนำพาเอาความร้อน ให้ระเหยไปกับมันด้วย การราดน้ำบนตัว แขน ขา จึงช่วยลดชีพจรได้นั่นเอง

3.จุดถ่ายเทความร้อนสำคัญ

แน่นอนว่าผิวหนังคืออวัยวะี่มีพื้นที่ผิวช่วยถ่ายเทความร้อนได้ทั้งหมด แต่บริเวณที่มีประสิทธิภาพสูงสุดก็คือ ผิวหนังบริเวณที่มีหลอดเลือดใหญ่ผ่าน ลองใช้น้ำ น้ำเย็น น้ำแข็ง ผ้าเย็น ราดหรือประคบช่วงต้นคอ รักแร้ ขาหนีบ และคุณจะพบว่า ร่างกายของคุณเย็นลงได้เร็วยิ่งกว่าเดิม ชีพจรลดลงได้เร็วกว่าเดิม

4.ลดความร้อนจากภายใน

น้ำ คือสิ่งที่นักปั่นต้องดื่ม หรือจิบอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่ปั่นจักรยาน โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนๆแบบนี้ แต่ ลองเปลี่ยนไปใช้น้ำเย็นๆ ใส่ในกระติกที่เก็บความเย็น หรือ แวะเติมน้ำแข็ง น้ำเย็นเข้าไป การจิบน้ำเย็น ดื่มน้ำเย็น ช่วยให้ร่างกายลดความร้อนได้จากภายใน เลือดที่ไหลเวียนผ่าน นำพาความเย็นช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้ด้วย

 

ท้ายที่สุดนี้ ขอฝาก”ข้อพึงรู้” เอาไว้ก่อนจากกัน เพื่อประกอบวามเข้าใจ และช่วยให้ทุกท่านปั่นจักรยานได้อย่างสนุก และปลอดภัยในวันอากาศร้อนสุดเดือด

-อุณหภูมิ ไม่ใช่ตัวแปรสำคัญอย่างที่อธิบายไว้ สิ่งสำคัญจริงๆคือ อุณหภูมิและความชื้น ที่ส่งผลกับประสิทธิภาพของการลดความร้อนร่างกาย ดังนั้น ในวันที่อุณหภูมิ 38-39 องศา อาจมีอุณหภูมิเสมือน 42-43 องศา ก็ได้ หากไม่มีกระแสลม และมีความชื้นในอากาศสูง เหงื่อระเหยได้ยาก ถ่ายเทความร้อนได้ประสิทธิภาพลดลง โดยเฉพาะ สภาพอากาศประเทศไทยส่วนใหญ่ในภาคใต้ และ ภาคกลาง นั่นเอง

นักปั่นตัวเล็กจะได้เปรียบในวันที่อากาศร้อนมากๆ เพราะ ร่างกายสามารถระบายควาร้อนได้ดีกว่า สัดส่วนพื้นที่ผิวต่อมวลร่างกาย ช่วยลดความร้อนได้ดีกว่านักปั่นที่มีร่างกายสูงใหญ่ นักปั่นที่สูงใหญ่จึงต้องระมัดระวังปัญหาความร้อนมากกว่าและ ช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนได้ดีขึ้น ในอากาศและความหนักของการปั่นเท่าๆกัน

Tag :: healthyheat
April 3, 2024 cyclinghub 0 Comment