พาวเวอร์มิเตอร์ถูกเริ่มพัฒนามาโดยได้รับการยอมับการใช้งานที่ชุดจานหน้าและดุมหลังเป็นที่แพร่หลายในระยะแรกๆของยุคแห่งวัตต์ และมีความพยายามที่จะมองหาตำแหน่งและวิธีการวัดแรงบิดเพื่อสร้างเป็นค่า”วะตต์”อื่นๆอีกมากมายเป็นทางออกในการพัฒนาผลิตภํณฑ์ชนิดนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ถูกมองเป็นอันดับแรกๆพร้อมๆกับการพัฒนาวัตต์ก็คือ”บันได” นั่นเอง แต่เนื่องจากความอ่อนไหวของการวัดทำให้กว่าที่บันไดวัตต์ตัวแรกๆที่ถูกยอมรับว่าทำางนได้อย่างดีเยี่ยมก็ปาเข้าไปเกือบๆสิบปีเอา แล้วเพราะอะไรที่พวกเขาจึงเลือกใช้บันไดเป็นจุดวัดแรงบิด หรือแรงเท้าที่กระทำลงไปยังจักรยาน ตลอดจน ผลดีแวดล้อมที่เกิดขึ้น เราลองมาทำความเข้าใจกันดูนะครับ

ในการพัฒนาอุปกรณ์มาวัดกำลังที่พวกเราปั่นจักรยาน พวกนักออกแบบพยายามมองหาจุดที่รับแรงกระทำโดยตรงให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ค่าที่ได้มีการรบกวนจากปัจจัยแวดล้อม ดังนั้นตั้งแต่ยุควัตต์แรกๆ บันได คือหนึ่งในเป้าที่มองเห็น เพราะ แน่นอนว่าต่อจากเท้าของเราก็บันไดนี่แหละที่จะส่งกำลังไปยังกลไกต่างๆเพื่อขับเคลื่อน ดร.ฮันเตอร์ อะลเลน ปรมาจารณ์ผู้คิดค้นตำราการฝึกซ้อมด้วยวัตต์คนแรกๆของโลกจักรยาน ให้ความเห็นว่า บันได คือจุดแรกที่เราส่งกำลังลงไปที่รถ จะมากหรือน้อยอย่างไร นี่คือจุดแรกที่รับกำลังของเรา ดังนั้น หากเราสามารถวัดกำลังที่ส่งลงไปได้จากจุดนี้ เราย่อมได้ค่ากำลังความหนักที่เหยียบ กด ดัน ดึง อย่างดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม บันไดมัความยากในการวัดแรงอยู่อย่างหนึ่งเพราะ มันอ่อนไหวต่อแรงที่กระทำมากๆ หลักการง่ายๆก็คือ แรงกระทำที่ส่งลงไปยังบันไดเพื่อหมุนขาจาน ทำมุมคนละแบบกับแนวแรงที่กระทำในชุดขับเคลื่อนที่เป็นตัวหมุนล้อจักรยานให้เคลื่อนที่ ดังนั้นความวุ่นวายของแนวแรงนี้เองที่สร้างความปวดสมองให้กับบรรดาบันไดวัตต์ยุคแรกๆมานักต่อนัก ประกอบกับข้อเท็จจิรงอีกประการว่าง นี่คือจุดที่ออกแบบได้ยากยิ่ง มันต้องแข็งแกร่ง แข็งแรงต่อแรงมหาศาล ไหนยังต้องทนต่ออุบะติเหตุที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แต่ต้องเล็ฏ เพรียว บาง ไม่เทอะทะจนเกินไป

แต่ข้อดีที่พวกเขาพยายามฝ่าฟันพัฒนาวัตต์ที่วัดจากบันได ก็คือการใช้งานที่ง่ายดาย เหมาะกับคนทุกคน เพราะมันคือจุดที่ติดตั้งได้ไม่ยาก สามารถถอดและใส่ได้ด้วยความสะดวก ทำให้นักปั่นที่มีจักรยานหลายๆคันน่าจะสนใจบันไดวัตต์อย่างแน่นอน ด้วยขีดจำกัดของพาวเวอร์มิเตอร์ที่จานหน้าที่ติดตั้งแล้วจะถอดเปลี่ยนคันทีหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ทุกคนอยากจะทำบ่อยๆ หรือล้อที่แต่ละคนก็มีล้อหลายแบบ หลายชุด จะให้ติดวัตต์ที่ล้อเดียวเปลี่ยนไปมาก็ไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสมนัก

นอกจากนี้ เมื่อการพัฒนาบันไดวัตต์มาจนถึงจุดที่เรียกว่า”แตกฉาน” พวกเขายังพบว่า แรงที่บันไดรับไปนั้น มีแรงที่น่านำไปศึกษาเพื่อพัฒนาการปั่นได้อย่างมากมาย แตกต่างจากวัตต์ชนิดอื่นๆ ที่รับแรงในแนวการขับเคลื่อน บันไดสามารถวัดได้ว่าแรงที่ส่งลงไปยังรอบวงการปั่น มีคุณภาพอย่างไรบ้าง รวมถึงในบางยี่ห้อสามารถแยกได้ว่าแรงส่งลงไปบนพื้นที่ส่วนไหนของบันไดมากกว่ากัน เพราะบันไดรับแรงกระทำจากเท้าแบบสามมิติ หากนำไปวิเคราะห์ดีๆจะพบว่า กำลังที่คุณปั่นลงไป ได้ผลดีมากแค่ไหน เสียแรงหรือได้ประโยชน์สูงสุดเพียงใด

ดังนั้นบรรดาพาวเวอร์มิเตอร์ที่วัดจากบันได จึงดูแล้วมีแนวโน้มที่จะให้ข้อมูลได้อย่างแม่นยำและมีสิ่งเสริมเพิ่มแต่งเพื่อนำไปศึกษาหาข้อผิดพลาดมาพัฒนาการปั่นได้ตรงจุดยิ่งขึ้น เพราะสุดท้ายแล้วการมีวัตต์ไม่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ที่การมีกำลังมากที่สุดเพียงอย่างเดียว แต่ต้องสามารถปั่นได้วัตต์ที่น้อยกว่าเดิมในขณะที่ได้ความเร็วเท่าเดิมด้วย

December 30, 2018 cyclinghub 0 Comment