มาถึงวินาทีนี้ คงไม่จำเป็นต้องอธิบายการมากมายเกี่ยวกับเสือหมอบแอโรไดนามิคส์อีกต่อไป และคงไม่ต้องมาลงลึกกันว่าการออกแบบเป็นอย่างไร มันจะดีอย่างไร เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราได้มีโอกาสพูดคุยกับคนที่ได้อยู่เบื้องหลังการวิจัยและพัฒนาเฟรมเสือหมอบแอโรไดนามิคส์ นับตั้งแต่ราวสิบปีที่ผ่านมา แต่นี่ถือเป็นครั้งหนึ่งที่พวกเราตื่นเต้นที่จะได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประวัติโชกโชนในการทำงานแวดวงวิศวกรรมด้านอากาศพลศาสตร์มายาวนาน ก่อนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างเสือหมอบแอโร่ฯรุ่นแรกของค่าย Cannondale ภายใต้รหัส SystemSIX ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปไม่นานมานี้

และจากการสนทนาครั้งนี้เอง ที่พวกเราจะขอพาคุณเข้าสู่ห้วงความนึกคิดของผู้เชี่ยวชาญพิอเศษ ที่มีต่อทิศทางของจักรยานในอนาคต รวมถึงเกร็ดเล็กน้อยที่คุณไม่มีทางที่จะเคยได้ยินมาก่อนอย่างแน่นอน

การ Integrate อุปกรณ์เข้าด้วยกันถือเป็นอนาคตของวงการจักรยาน หรือเป็นเพียงกระแสที่เข้ามาเท่านั้น?

“หากมองในมุมของการพัฒนา เราแยกได้เป็นสองทางหลักๆ ด้านแรกคือเรื่องของสมรรถนะ บริเวณแฮนด์และสเต็มถือว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการเข้าปะทะอากาศในการตศึกษาวิจัย เราจึงเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะทำใมห้จักรยานเร็วขึ้นโดยไม่หาทางทำอะไรกับชิ้นส่วนเหล่านั้น เมื่อเสือหมอบระดับแนวหน้าออกสู่ตลาด นักออกแบบยอมไม่ได้ที่จะให้ระบบสายต่างๆเข้ามาเป็นปัญหาในการฝ่าความเร็วไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ เราไม่มีทางไปถึงได้ด้วยรูปทรงแฮนด์แบบเก่า การแข่งขันของแบรนด์ต่างๆก็ไปในทิศทางเดียวกัน

ในด้านของความสวยงาม นี่คือความพึงพอใจของตลาดที่เห็นภาพจักรยานที่เรียบร้อยไม่มีระบบสายมาให้เกะกะ ด้วยระบบเกียร์ไฟฟ้าและดิสค์เบรคแบบไฮโดรลิคส์ ที่กำลังจะเป็นกระแสหลักในอนาคต ทำให้พวกเราสามารถสร้างสรรค์รถที่เก็บระบบทำงานภายในได้ ตามที่นักปั่นต้องการ

จากสองปัจจัยนี้ เราจะยังคงเห็นระบบ Integrate ที่พัฒนาต่อไปเรื่อยๆในอนาคตอย่างแน่นอน”

แบรนด์ต่างๆจะเริ่มพัฒนาล้อเป็นของตัวเองเข้าสู่ตลาดด้วยหรือไม่?

“สำหรับแคนนอนเดล ล้อ น็อต64 ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนา SystemSIX เลยด้วยซ้ำ เราต้องการล้อที่ทำให้ได้ยางที่ขี่ได้เร็วและสบาย ขนาดขอวยางที่รองรับก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างน้อยในหลายๆที่ของโลก ยางเสือหมอย 23 มิลลิเมตรนั้นแทบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว จากแรงเสียดทานการหมุน ความสบาย แต่การศึกษาพบว่ายางขนาดใหญ่สร้างภาระของอากาศมากกว่ายางเล็ฏมาก ดังนั้นพวกเราจึงมองไปที่ล้อที่มีคุณสมบัติของยางที่ใหญ่ แต่ยังมีแอโรไดนามิคส์ที่ดี ซึ่งยังไม่เคยมีในท้องจลาด ในอนาคตเราจะดัดแปลงขยายเทคโนโลยีนี้ไปสู่ล้ออื่นๆมากขึ้น เพราะความสูง 64 มิลลิเมตรอาจไม่เหมาะกับทุกๆสถานการณ์

ดังนั้นเราจะเห็นล้อที่ถูกสร้างมาโดยผู้ผลิตจักรยาน ที่มองหาความสมบูรณ์แบบของการทำงานร่วมกันมากขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน”

ในเส้นทางการพัฒนาโครงการ SystemSIX เรื่องท้าทายที่สุดคืออะไร?

“เป็นคำถามที่ตอบได้ลำบากใจมาก แต่เรื่องที่ยากและท้าทายที่สุดคือการรวมระบบต่างๆไว้ภายในเฟรม ซึ่งจักรยานึคู่แข่งทั้ง VIAS และ Madone 9 ได้เข้ามาบุกเบิกแนวคิดนี้เอาไว้ แต่ขาดความง่ายในการดูแลรักษา ซึ่งโจทย์ของโครงการ SystemSIX ระบบของเราต้องสามารถดูแลรักษาได้แบบปกติ ผู้ขี่สามารถปรับแต่งให้ได้ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญหรือเครื่องมือพิเศษกว่าที่จักรยานทั่วไปควรใช้

การประกอบที่ยุ่งยากเป็นปัญหาทั้งผู้ขี่และร้านค้า เราจึงต้องการให้มันเป็นจักรยานที่ปรับแต่งได้ง่าย เปลี่ยนแฮนด์และสเต็มให้เหมาะกับคนขี่ได้ง่าย การเดินสายทำได้สะดวกใกล้เคียงเฟรมระบบธรรมดา และปรับแหวนรองคอเพื่อปรับระยะรถได้อย่างละเอียดจริงๆ ความยากตามมาทันทีเพราะการเดินสายภายในจะส่งผลต่อสิ่งต่างๆตามมามากมาย ทั้งรูปทรงของท่อคอ รูปทรงของุดคอ ลูกปืนต่างๆ ตลอดจนการออกแบบแฮนด์และสเต็ม ที่ต้องยังคงมีความแอโร่ฯได้ด้วย ในขณะที่ต้องแข็งแรงและแกร่งเพียงพอ มันไม่ยากหรอกที่จะยัดสายเข้าไปทั้งหมด แต่มันไม่ง่ายเลยที่จะทำงานได้อย่างปกติทุกอย่าง ประกอบง่าย ดูแลง่ายๆ และมีอายุการใช้งานสายที่เป็นปกติ

พวกเราจงยอมที่จะให้สายเกียร์แบบปกติอยู่ภายนอกเฟรม สร้างภาระให้กับอากาศคิดเป็นแรงประมาณ 1 วัตต์แต่ได้จักรยานที่เปลี่ยนเกียร์ได้อย่างสมบูรณ์ รวดเร็ว เพราะจกรยานคู่แข่งที่ยัดสายเกียร์เข้าไปข้างใน ยอมเสียเรื่องนี้ไป ในระยะสั้นมันอาจไม่เห็นผล แต่สำหรับจักรยานของนักปั่นทั่วไปที่ใช้สายเกียร์เป็นเวลานานๆ ทางเดินของสายที่คดเคี้ยวลดความสามารถในการเปลี่ยนเกียร์ไปอย่างมากเมื่อสายเกิดเก่าตามเวลา”

จักรยานอะไรที่มีผลต่อการพัฒนา SystemSIX ?

“ในระยะแรกพวกเราศึกษาเสือหมอบแอโร่ฯที่ถือว่าล้ำหน้าในการออกแบบอย่าง Cervelo S5 แทบจะทันทีที่ออกมาสู่ตลาด จนกระทั้งเดือนมิถุนายนปี 2015 ที่มาตรฐานการออแบบถูกดึงขึ้นไปด้วยการมาของ Venge VIAS และ Madone 9 เราจึงใช้นั้นเป็นเกณฑ์ล่างสุดในการต่อยอดไปสู่อนาคต”

เสือหมอบแอโร่ฯ ทไมจึงค่อยเร็วนำหน้ารถไทม์ไทรอัลไปแล้ว?

“SystemSIX ของเราเร็วกว่า Super Slice เฉกเช่นเดียวกับที่ New Venge ก็เร็วกว่า Shiv TT ซึ่งผมเชื่อว่าการทดสอบทำโดยการใส่ชุดแฮนด์แบบเดียวกันในรถทั้งสองชนิด เพราะเป็นที่แน่นอนว่าชุดแฮนด์ของรถไทม์ไทรอัลเร็วกว่าแฮนด์เสือหมอบธรรมดามาก ดังนั้นในทางปฏิบัติทีชุดแฮนด์ปกติของรถทั้งสองชนิด ผมเชื่อว่าผลก็ยังเหมือนเดิมคือรถไทม์ไทรอัลยังคงเร็วกว่านิดหน่อย

อย่างไรก็ตารม ปัจจัยเรื่องเทคโนโลยีก็มีส่วนเพราะรถไทม์ไทรอัลเหล่านี้มีการออกแบบที่มีอายุมาช่วงหนึ่งแล้ว และอยู่บนฐานของปรัชญาการออกแบบที่ต่างกันกับเสือหมอบแอโร่ฯในเวลานี้ รวมถึงข้อบังคับของ UCI ที่ทำให้รถไทม์ไทรอัลก้าวต่อไปได้ช้ากว่าเมื่อเทียบกับรถไตรกีฬา เราได้เห็นการก้าวล้ำหน้าไปมาตรฐานใหม่ของรถไตรกีฬา Cervelo, Diamond Back, Argon 18 และ Ceepo เพราะไม่มีข้อกำหนดมาบังคับเอาไว้อย่างรถไทม์ไทรอัล นั่นเป็นอีกส่วนที่ทำให้ไม่ช้าก็เร็ว เฟรมเสือหมอบไทม์ไทรอัลจะโดนเฟรมเสือหมอบแอโร่ไดนามิคส์เข้ามาเบียดคู่กันเช่นนี้

ปัญหาอีกข้อคือเรื่องของการตลาด คนมักจะต้องการรถไม์ไทรอัลหรือไตรกีฬาเพื่อการปั่นไตรกีฬามากกว่าคนขี่เสือหมอบ ดังนั้นการจำกัดการออกแบบเอาไว้เพื่อการนำไปใช้แข่งขันมาตรฐานสากล จึงกลายเป็นข้อจำกัดทางการคลาด คุณจะเลือกซื้อจักรยานที่ถูกต้องตาม UCI ไปเพื่ออะไรหากคุณไม่ได้แข่งรายการอาชีพระดับนั้น และสามารถซื้อรถไตรกีฬาได้สมรรถนะที่สุดยอดมากกว่า ตลาดรถไทม์ไทรอัลจึงเล็กมาก จนยากที่จะทุ่มกำลังวิจัยและพัฒนาให้มันมีวิวัฒนาการข้ามยุคไปได้แบบเสือหมอบแอโรไดนามิคส์”

การออกแบบในฝันที่คุณอยากทำต่อในรุ่นต่อไปคืออะไร?

“แน่นอนว่าเราต้องการเสือหมอบที่เร็วยิ่งกว่าเดิม แต่ต้องมีน้ำหนักที่เบากว่าเดิม เข้าไปใกล้เคียงรถที่ไต่เขาได้ดีในปัจจุบัน เพราะเราไม่ได้มองว่ามันคือเสือหมอบแอโร่ฯ แต่สิ่งที่เราทำคือรถเสือหมอบที่ต้องขี่ได้เร็ว ถ้ามันไปได้เร็วบนทางราบ บนเนินเขามันก็ต้องไปได้เร็วด้วย

รวมถึงการพัฒนาล้อและชุดค็อกพิทให้ทำงานควบคู่ไปกับเฟรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม”

และนี่คือความคิดที่เราน่าจะพอสังเกตุได้ว่า ในอนาคตทิศทางของการพัฒนาจักรยานเสือหมอบจะเป็นไปในทางไหนกันแน่ เพราะในคำตอบที่เก็บมาเล่านั้น สะท้อนแนวคิดจากมุมมองของคนที่แบกรับภาระ “แข่ง” กันทำเกมส์เพื่อสร้างจักรยานแข่งขันที่ดีที่สุดเป็นเรื่องมือให้พวกเราและนักแข่งพามันไปได้เร็วและไกลยิ่งขึ้นนั่นเอง

December 8, 2018 cyclinghub 0 Comment