คุณคิดมั้ยว่าจักรยานจะเชื่อมเราเข้าหากันได้อย่างไร

ตลอดสิบปีที่ผ่านมา จักรยานถือเป็นกิจกรรมและกีฬาที่เติบโตที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งไทย เวียตนาม พม่า และมาเลเซีย มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเรื่องของจักรยานอย่างเห็นได้ชัด อย่างที่พวกเราเห็นกันอยู่รอบๆตัว แต่เมื่อเวลาผ่านไป กระแสแห่งความนิยมเริ่มเบาบางลง ความหวือหวา ฮือฮา จางหายไปจากหน้ากระแสโซเชียลอย่างฉับพลัน แต่นั่นไม่ได้สื่อความหมายว่า จักรยานกำลังจะหายไปจากชีวิต ในทางกลับกัน วันนี้ จักรยานกำลังจะเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากันอย่างไร้พรมแดน และนี่คือสิ่งที่จะภถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทย ในฐานะของศูนย์กลางธุรกิจและอุตสาหกรรมจักรยานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คงไม่ต้องอธิบายกันเยอะมากถึงความสำคัญของเอเชียในแง่ของอุตสาหกรรมจักรยาน จากสิ่งที่เราเห็นในแดนมังกร แหล่งผลิตจักรยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา ช่วงทศวรรษล่าสุด ต้นทุนในการผลิตของแรงงานฝีมือแผ่นดินใหญ่ก้าวกระโดดขึ้นมาถึง 5 เท่า สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขา ส่งผลให้กระแสการลงทุนอุตสาหกรรมจักรยานหันหน้ามาสู่แหล่งผลิตคุณภาพที่มีต้นทุนสบายกระเป๋านักลงทุนมากกว่า ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้เอง โดยเฉพาะการเติบโตของอุตสาหกรรมจักรยานในเวียตนาม และกัมพูชา ตลอดจนการเติบโตของมูลค่าการซื้อขายสินค้าจักรยานที่พุ่งทะยานแซงหน้าชาติมหาอำนาจ เทียบจากมูลค่าการซื้อขายเทียบกับรายได้ประชากร ในประเทศไทยและมาเลเซีย

ในแง่ของกิจกรรมและการกีฬา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำหัใหอกโดยมาเลเซีย มีการเติบโตอย่างมากในแง่ของจักรยานเพื่อการกีฬาและนันทนาการ ทั้งการแข่งขันในระดับอาชีพ และงานปั่นเพื่อสุขภาพ ตลอดจนเวียตนาม และประเทศไทยเรา ที่ก้าวขั้นมามีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่องในแง่ของนักจักรยาน ก้าวขึ้นสู่ระดับโลกและทวีปเอเชียอย่างต่อเนื่อง กลไกนี้ ผลักดันให้กระแสของจักรยาน กลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกของกลุ่มคนรักสุขภาพอย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าเราจะผ่านช่วงขาขึ้นของการเติบโตของกระแสจักรยานมาแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่เราเห็นในสังคมคือ ประชากรที่ใช้จักรยานเป็นกิจกรรมเพื่อสุขภาพ นันทนาการ และการกีฬา ยังคงมีมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อเทรียบกับทศวรรษที่ผ่านมา สิ่งนี้พิสูจน์ชัดเจนว่า แม้ความเฟื่องฟูของความนิยมจะจางหายไปพร้อมกับฟองสบู่ที่แตกดังโพล้ะ แต่นักปั่นจำนวน 3-4 แสนคน ทั่วประเทศ เป็นจำนวนที่มากมายมหาศาล ท่านลองคำนวนเล่นๆ เอาค่าเฉลี่ยจักรยานคันละ 8,000  บาทคูณเข้าไป หรือมองเล่นๆแค่ยางในเส้นละ 90 บาท ท่านจะเห็นถึงมูลค่าตลาดที่ยังคงอยู่ และนำเอาจำนวนของประชากรในกลุ่มนี้ ที่มีอยู่ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามา นี่คือมูลค่าที่มากพอจะส่งให้พวกเราก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางย่อมๆได้เลย

ในแง่ของการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน มีมุมที่น่าสนใจมากมายในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ บางประเทศเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุนให้ประชากรใช้จักรยานเป็นพาหนะสัญจรในชีวิตประจำวัน มีการปลดล็อคจักรยานไฟฟ้า ให้เป็นพาหนะทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้ม ลดจำนวนจักรยานยนต์ ยกตัวอย่างเช่น ในพม่า มีบางเมืองเริ่มต้นห้ามใช้จักรยานยนต์บนถนน ทำให้จักรยานกลายเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทางระยะสั้น หรือมาเลเซียผลักดันการพัฒนาผังเมืองใหม่ๆให้เอื้อกับการใช้จักรยานเพื่อการสัญจรได้อย่างดีเยี่ยม แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ตาม กลุ่มเมืองขนาดกลางและเล็ก เริ่มมีโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนให้ประชากรใช้งานจักรยานทดแทนได้สะดวกขึ้น 

งานวิจัยล่าสุดพบว่าในกลุ่มเมื่องใหญ่ แนวโน้มการพัฒนาการสัญจรของผู้คนเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ที่อยู่อาศัยอยู่ใกล้กับสถานที่ทำงานมากขึ้น ค่าเฉลี่ยของการเดินทางด้วยจักรยานที่เหมาะสมคือระยะ 15 นาทีระหว่างจุดเริ่มต้นและที่หมายปลายทาง ระยะทางรวมของทางจักรยาน 556 กิโลเมตรของกระทรวงคมนาคม ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ และนโยบายหลักสร้างทางจักรยานควบคู่กับถนนใหม่ทั้งหมด น่าจะเป็นสิ่งรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ไม่มากก็น้อย

และเมื่อปัจจัยทั้งหมดนี้ สนับสนุนให้เกิดโอกาสในการเติบโตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนแผ่นดินใหญ่ ในความเชื่อมโยงของมหกรรมงานสองล้อของกลุ่มประเทศ CLMV เตรียมพบกับงาน TWOWHEELS ที่จะเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจและความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมสองล้อ โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ระหว่าง 23-25 มีนาคม ปีหน้า

โอกาสนี้ เมื่อพรมแดนไร้ขีดจำกัด ผลประโยชน์ทั้งหลายจะตกมาอยู่ที่คนในสังคมจักรยานไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม

September 5, 2018 cyclinghub 0 Comment