
สำหรับแฟนๆกีฬาจักรยาน ระยะหลังๆคงเร่ิมสังเกตุกันได้ว่า ในการแข่ง Tour de France ยุคใหม่ บรรดานักแข่งและทีมงานต่างๆจะเข้าสู่ขั้นตอน”Transfering” มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการ Transfer นั้นหมายถึงเมื่อแข่งขันจบเสตจไปแล้ว พวกเขาต้องใช้พาหนะอื่นๆเดินทางจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองเพื่อทำการเริ่มต้นเสตจต่อไปจากอีกสถานที่ ซึ่งเป็นคนละที่กับที่จบการแข่งในเสตจก่อนหน้า ผิดจากการแข่งจักรยานแบบเสตจเรส (Stage Race) ที่มักใช้การแข่งแต่ละเสตจเชื่อมกันจากที่หนึ่งไปยังอีกที่ ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเริ่มจากกรุงเทพมหานครไปจบที่สระบุรี วันต่อไปก็มักะเริ่มจากสระบุรีไปยังอีกที่หนึ่งต่อไป แต่ในยุคใหม่ เมื่อจบจากสระบุรีแล้ว ขบวนนักแข่งต้องเดินทางด้วยพาหนะอื่น ไปเริ่มต้นวันรุ่งขึ้นที่ขอนแก่น เพื่อมุ่งหน้าไปยังที่ตอไปแทน
อะไรคือปัจจัยของแนวโน้มดังกล่าว วันนี้ HUB จะขอเล่าที่มาที่เราได้พูดคุยกับ ASO (ผู้จัด Tour de France) ถึงที่มาของแนวโน้มที่กล่าวมาให้ฟังกันสักหน่อย และในเนื้อหานั้นเองก็อาจมีเกร็ดเล็กที่คุณอาจไม่เคยได้ยินแทรกอยุ่ เกี่ยวกับการเป็นเมืองที่ได้ต้อนรับการการแข่งขันรายการสำคัญนี้
เสตจมีระยะทางสั้นลง
เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลก และวงการกีฬาต่างๆ รวมถึงกระแสความเอื้อมระอาของมวลชนที่ชมกีฬาจักรยานที่ลดลงจากกระแสข่าวสารกระตุ้นที่มีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เข้าสู่ศตวรรษใหม่ ทำให้ผู้จัดเริ่มมองหาหนทางในการปรับการแข่งขันให้มีความน่าสนใจมากขึ้น หนึ่งทางเือกก็คือ การลดความยาวของเสตจลง แต่เพิ่มความยากและอุปสรรคของเสตจให้มีผลกับการแข่งขันมากขึ้น ไม่ว่าการเลือกช่วงเส้นทางถนนอิฐเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน การให้ความสำคัญกับเสตจภูเขาที่โหดหินกว่าเดิม รวมถึง การขี่ไทม์ไทรัลที่สร้างเวลาแตกต่างได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แน่นอนว่าในปีนี้ พวกเขาทดลองให้นักแข่งปั่นผ่านเส้นทางกรวดเพื่อดูแนวโน้มของเกมส์การแข่งขันเพิ่มอีกด้วย ทั้งหมดนี้ ทำเพื่อให้การแข่งขันเข้มข้นขึ้นกว่าสมัยก่อน ระยะทางที่สั้นลง แต่อุปสรรคยากขึ้น ทำให้นักแข่งต้องทำเกมส์การแข่งขันที่ร้อนแรงมากขึ้น และทำท่าจะได้ผลดีเอาเสียด้วย เมื่อยอดชมการถ่ายทอดสดในเสตจทางราบและเสคตจเนินเขาพุ่งพรวดสูงขึ้นมาตีคู่กับเสตจภูเขา ในนขณะที่สมัยก่อน เสตจเหล่านี้มักถูกมองผ่านเนื่องจากนักแข่งใช้วิธีปล่อยกลุ่มหนีออกห่าง ล็อคระยะทางและไปเก็บเอาช่วงสุดท้ายเท่านั้น คนดูก็เดาออก เหมือนหนังที่ฉายซ้ำไปซ้ำมา การลดความยาวลง และเพิ่มความน่าตื่นเต้น ช่วยทำให้ทุกวันของการแข่งขัน มีความพลิกผันอยู่อย่างน่าสนใจ
ทว่าการลดความยาวลงนี้เอง เปิดปัญหาใหม่ที่ตามมา เพราะพวกเขามีเสตจที่สามารถแข่งขันได้อยู่เพียง 21 เสตจ ซึ่งจะต้องครอบคลุมพื้นที่สำคัญของฝรั่งเศสวนรอบ และผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ และพีเรนีส ก่อนจะมาจบลงที่กรุงปารีสอย่างยิ่งใหญ่เป็นธรรมเนียม แต่ระยะทางที่สั้นลง ส่งผลให้เสตจไม่สามารถเชื่อมต่อกันวนรอบประเทศตามเข็มและทวนเข็มได้อีกต่อไป ดังนั้น ช่วงรอยต่อต่างๆในแต่ละช่วงสำคัญ จึงต้องตัดสินใจใช้การ Transfer มาช่วยเชื่อมให้การแข่งขันผ่านภูมิภาคต่างๆได้อย่างครบถ้วนเช่นเคย
ฝ่ายเทคนิคจัดการแข่งขัน ยังให้ความเห็นว่า การที่เสตจสั้นลงนี้ ช่วยให้นักแข่งคนสำคัญระเบิดพลังได้ในเสตจที่ต้องการ เพื่อสร้างผลการแข่งที่หวือหวาได้ยิ่งขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนไปของการบริหารทีมจักรยานที่แต่ละทีมต้องการรางวัลต่างๆด้วยบันมากขึ้น ทุกทีมต้องการทุกความเป็นไปได้ของรางวัลที่มีตรงหน้า รวมถึงการเก็บความได้เรปียบแม้เล็กน้อยเพื่อหวังผลรวมของเวลาก็ช่วยทำให้การลดระยะทางของเสตจการแข่งขัน ให้ผลลัพธ์ที่ดีเป็นทวีคูณ ดังนั้น คาดว่าแนวโน้มนี้น่าจะไปได้ดี และไม่น่าย้อนกลับไปใช้ระยะทางแต่ละเสตจที่ยาวเหมือนเมื่อก่อนเพื่อลดการ Transfering ลงในอนาคตอันใกล้
เมืองที่ต้องการต้อนรับการแข่งมีมากขึ้น
ในแต่ละปี มีเมืองที่ต้องการให้ Tour de France ผ่านยื่นความต้องการมายังผู้จัดมากมาย พวกเขา้องเลือกเพียง 20 เมืองที่จะมีโอกาสนี้ เพราะเมืองเหล่านั้น ฝ่ายท้องถิ่นเล็งเห็นถึงผลประโยชน์มหาศาลที่ชาวเมืองจะได้รับทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เมื่อมีโอกาสเป็นเจ้าบ้านต้อนรับขบวนนักแข่งขนาดมหึมา ซึ่งพ่วงมากับการพัฒนา และเศรษฐกิจ ตลอดจนการโฆษณาที่มีมูลค่ามหาศาล นี่เป็นการบ้านที่หนักหนาสาหัสของผู้จัดในทุกปี ซึ่งต้องตัดสินใจให้สำเร็จได้ทั้งฝ่ายเทคนิค ฝ่ายการตลาด และฝ่ายประชาสัมพันธ์ ต้องลงมติเลือกเมืองที่จะเป็นเส้นทางของทั้ง 21 เสตจ (เสตจสุดท้ายอย่างไรก็ต้องเป็นกรุงปารีส) และประกาศในช่วงตุลาคมของทุกปีให้ได้
ยังไม่นับเมืองนอกประเทศฝรั่งเศส ที่บางเมืองยอมทุ่มทุนจ่ายเงินให้กับผู้จัดก้อนโต เพื่อให้การแข่งรายการนี้ไปเริ่มต้นที่เมืองของเขา ทั้งหมดนี้รวมกันแล้วทำให้ฝ่ายจัดการแข่งขัน ต้องบริหารจัดการพื้นที่ ที่การแข่งขันจะเคลื่อนผ่านไปให้ถี่ถ้วนที่สุด อย่างน้อยๆ การแข่งขันต้องผ่านผูมิภาคต่างๆที่สำคัญของฝรั่งเศส รวมถึงเมืองบางเมืองที่แม้ไม่ได้เป็นจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุด แต่เป็นทางผ่านของการแข่งขัน ก็ถือเป็นผลประโยชน์ของการจัดการแข่งขันไปด้วย การที่พวกเขาจบการแข่งขันที่เมืองหนึ่ง แล้วย้ายไปเริ่มอีกเมืองหนึ่ง ช่วยเพิ่มโอกาสความเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าบ้านให้เมืองต่างๆมากขึ้นนั่นเอง
หากนับจาก 20 เสตจ ในแนวคิดเดิมที่เริ่มต้นจากมเืองที่จบการแข่งขัน ก็จะมีเมืองที่ได้สิทธิเป็นเจ้าบ้านในการแข่งขัน 20 เมือง โดยแต่ละเมืองมีสิทธิจัด 2 วัน กล่าวคือ วันที่เป็นจุดเส้นชัยของเสตจ และวันเริ่มต้นอีกเสตจถัดไป แต่หากตัดช่วงการแข่งขันบางช่วง แล้ว Transfer ขบวนการแข่งย้ายภูมิภาค ก็จะมีเมืองที่ได้เป็นเจ้าบ้านเพิ่่มขึ้นเป็น 23-24 เมือง หมายถึงการเพิ่มขึ้นอีก 15-20 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ประโยชน์ของผู้จัดอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันคือประโยชน์องค์รวมของฝรั่งเศสที่จะได้รับจากการแข่งขัน
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะยิ้มรับแนวคิดนี้ เพราะการ Transfer การแข่งขันส่งปัญหากับการเคลื่อนขบวนนักแข่งมากมาย พวกเขาต้องเดินทางมากขึ้น พักน้อยลง ทีมงานเบื้องหลังต้องจัดการและมีค่าใช้จ่ายในการเดนิทางแข่งขันมากขึ้น ทีมใหญ่จะยิ่งได้เรปียบทีมเล็กมากขึ้น รวมถึงฝ่ายปฏิบัติการของผู้จัดเอง ก็มีงานที่หนักมากขึ้นเช่นกัน ในระยะแรกๆที่การแข่งขันมีการ Transfer มากขึ้น ทีมและนักแข่งก็มีเสียงบ่นออกมาไม่น้อย อย่างไรก็ตาม นี่คือก้าวหนึ่งของัฒนาการที่เป็นไป อนาคตอาจเปลี่ยนแปลงไปแบบไหนอีกนั้น เราในฐานะแฟนๆกีฬาคงต้องดูกันต่อไป และทำความเข้าใจในความเป็นมานี้