ถ้าพูดถึงแบรนด์ De Rosa เชื่อว่าแฟนๆจักรยานน่าจะพอคุ้นหูกันอยู่บ้างอย่างแน่นอน แต่ น่าจะคุ้นชินกับภาพลักษณ์ของการเป็นแบรนด์”วินเทจ” เนื่องจากเห็นในแบบที่เป็นเสือหมอบยุคคลาสสิคกันเสียเป็นส่วนใหญ่ นั่นก็เพราะว่า เมื่อนับย้อนกลับไป ความรุ่งเรืองของ De Rosa มาคุ่กับตำนานของ Eddy Merckx ในยุค 70s เป็นหลัก พอเข้ายุค 80s และ 90s ไปแล้ว ดูเหมือนว่า จะไม่ค่อยมีเรือ่งราวอะไรให้จดจำ พร้อมๆกับการขึ้นมาแทนที่ของแบรนด์ร่วมชาติอย่าง Pinarello ที่ก้าวเข้ามาทำผลงานได้อย่างร้อนแรงในยุคนั้น

แต่ในโอกาสนี้ ผมไม่ได้มาเล่าครับว่า De Rosa เก๋าอย่างไร ของแบบนั้นไปหาอ่านจากชุมชนคนวิทเทจจะสนุกสนานกว่า แต่ในโอกาสที่ Victor Lafay เพิ่งคว้าชัยสเตจใน Giro d’Italia ให้กับทีม Cofidis ของเขา ซึ่งใช้จักรยาน De Rosa  แบบนี้ ก็ต้องมาคุยเหม้าท์ เหลาเรื่องราวกันสักหน่อย ใครสนใจอยากฟังประวัติศาสตร์และเกร็ดนอกตำรา ก็เชิญรับฟังจากในคลิปรายการสดนี้ได้เลยนะครับ

 

มาคุยกันต่อเลยครับ (หรือข้ามมานี่ได้เลยสำหรับติ่ง De Rosa) เพราะเมื่อรู้จักกับอดีตกันไปแล้ว มาถึงยุคปัจจุบันนี้กันบ้าง เราจะเห็นได้ว่าจักรยาน De Rosa นั้น เปลี่ยนรูปโฉมไปอย่างมาก กับการมาของ Pininfarina SK และล่าสุดก็รถทีม Cofidis อย่างเจ้า Merak นี่เองครับ

 

แต่ถ้าจะมาเล่ากันเรื่องจักรยาน รีวิว ข้อมูล พรีวิว กันอย่างเดียวนั้น จะมาเขียนเล่าในนี้รับรองได้ว่า งานเขียนคงยาวจนเข้าข่าย็ทบุ๊คอย่างไม่ต้องสงสัยครับ ผมคงไม่เสี่ยงทำออกมาแบบนั้นแน่นอน ลำพังนิตยสารยังเคยเจ๊งคามือไปแล้ว จะไปรอดได้อย่างไร ใครที่สนใจฟังเรื่องราวของ De Rosa .นปัจจุบัน ต้องฟังในคลิปตอนต่ออันนี้ครับ

แต่ไฮไลท์ของบทความนี้ มันต้องต่อจากนี้ไปครับ เพราะ ผมจะมาเล่าให้เข้าใจว่า ทำไม แบรนด์อย่าง De Rosa ถึงเจอกับปัญหาเรือ่งการตลาดที่หลายๆคนมองผ่านไป แะอะไรคือสิ่งทีเ่กิดขึ้น ต้องบอกว่า หากใครฟังคลิปตอนสองจนจบช่วง De Rosa แล้ว จะอินและเข้าใจได้ง่ายกว่า แต่ ถึงจะไม่ฟังมาก่อน ก็สามารถอ่านและเข้าใจได้ไม่ยากครับ เพราะนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างปกติในอุตสาหกรรมจักรยาน

 

การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม

ในยุคของลุง Ugo De Rosa (ยุคเดียวกับ Ernesto Colnago หรือราวครึ่งศตวรรษหลังยุคของ Bianchi) จักรยานถูกสร้างมาโดย”ช่าง”ฝีมือที่เป็นนักทำจักรยาน (ส่วนมากเรียนช่างเชื่อมเหล็กมา) ซึ่งพวกเขามีทั้งความเข้าใจใเรื่องของวัสดุศาสตร์ โครงสร้าง วิศวกรรม และ ปัจจัยการออกแบบจักรยานว่า ท่อไหนต้องเป็นอย่างไร เชื่อมแบบไหน ทั้งหมดนี้คือกระบวนการออกแบบที่จบในคนเดียว เปรียบเทียบให้เห็นภาพ เหมือนช่างตัดเสื้อเลยครับ ช่างจะมีความเข้าใจในเส้นใย เนื้อผ้า ลวดลาย สี การพิมพ์ รวมถึงการสวมใส่ ต้องกันหนาวแค่ไหน ระบายความร้อนดีมั้ย ใส่แล้วเข้ากับคนนี้หรือเปล่า แบบนี้น่าจะเห็นภาพ เพราะทุกวันนี้ ช่างตัดเสื้อก็ยังคงเป็นอาชีพที่อยู่ได้ แม้จะมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากมายก็ตาม

แต่สำหรับอุตสาหกรรมจักรยาน โลกเราเริ่มเปลี่ยนไปในช่วงทศวรรษ 80s และ 90s ครับ ในยุคนั้น แบรนด์จักรยานใหม่ๆที่เกิดขึ้น เกิดมาพร้อมกับแนวคิดของอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่ใช้”ทีม” ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ อันร่วมกันทั้งฝ่ายออกแบบ (สร้างสรรค์) ผสมกับทีมวิศวกรรม (ด้านเทคนิค) และรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ หรือเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศพลศาสตร์เข้าไปด้วยก็มี (ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหการ ก็มีส่วนมากในการพัฒนาจักรยานตั้งแต่ยุคนั้น) ดังนั้น จาก “วันแมนโชว์” การทำงานเปลี่ยนมาเป็นการรวมพลังของคนเก่งๆมาช่วยกันผลักดันการออกแบบต่อไป

Guardia Sanframondi – Italy – wielrennen – cycling – cyclisme – radsport – Victor Lafay (FRA – Cofidis) pictured during 104th Giro d’Italia – (2.UWT) stage 8 – from Foggia to Guardia Sanframondi (170KM) – photo Tommaso Pelagalli/LB/RB/Cor Vos © 2021

ทีมพัฒนาจักรยานมีใครบ้าง?

ถ้าจะพูดถึงการทำงานเป็นทีมของยุคใหม่ๆ อุตสาหกรรมจักรยานเองก็มีโครงสร้างการทำงานของทีมงานไม่ได้แตกต่างไปจากอุตสาหกรรมอื่นๆที่ใกล้เคียงมากนัก แต่ก็จะมีความพิเศษอยู่บ้าง โดยเฉพาะในแต่ละแบรนด์ที่อาจมีเพิ่มลด หรือปรับสัดส่วนหน้าที่ของแต่ละคนไป แต่โดยรวมๆแล้ว ไม่พ้นตำแหน่งด้านล่างนี้แน่นอนครับ

Product Management  เป็นแผนกเริ่มต้นของการพัฒนา เรียกว่า “เปิดโครงการ” กันก็ว่าได้ครับ ถ้าเป้นการพัฒนารุ่นที่มีอยู่แล้ว ทีมนี้จะทำหน้าที่หา”ทิศทาง” และ”มาตรฐาน” ว่าเฟรมนั้นๆจะออกมาอย่างไร ถ้าเบา ต้องเบาขนาดไหน คำว่าสติฟฟ์ ต้องเท่าไหร่ แอโร่ฯจะเอาแค่ไหน หรือต้องมีอะไรแก้ไข ลดทอน ดัดแปลงจากเดิมไปบ้าง ในอีกทางหนึ่ง หากเป้นการสร้างซีรีส์ใหม่ขึ้นมา พวกเขาคือคนที่ทำหน้าที่”เคาะ” เอามโนคติของจักรยานที่ต้องการออกมาให้ได้ก่อน

Product Designer จากภาพมโนของฝ่ายผลิตภัณฑ์ คราวนี้ นักออกแบบจะรับเอาภาพนั้นมาขีดเขียนให้เกิดเป็นรุปเป็นร่างออกมา เลือกใช้วัสดุอย่างไร หาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ จะซ่อนสายต้องซ่อนแบบไหน ทางไหนถึงจะเหมาะ ถ้าจะแอโร่ฯ จะเลือกแอโร่ฯทรงไหนอย่างไร จัดการขีดเขียนเป็นรูปร่างแล้วศึกษาพัฒนารูปทรงที่ต้องการให้ออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน จับต้องได้ อธิบายง่ายๆครับ นี่คือคนที่ทำให้ภาพฝันออกมาเป็นตัวตน

Engineer คิดฝันนั้นใครๆก็คิดได้ วาดภาพทำแบบจำลอง จะทำอย่างไรก็ทำได้ แต่มันจะขี่ได้หรือไม่ จะพัง จะหักหรือเปล่า เมื่อเกิดปัญหาแล้วแก้อย่างไร เกิดผลอย่างไรบ้างนั้น วิศวกร คือผู้ที่เข้ามาทำให้ความคิดของ 2 คนแรกออกมาได้จริง บ่อยครั้งที่การทำงานของพวกวิศวกรกลุ่มนี้ คือการ แก้ไขแบบที่ถูกคิด ถูกออกแบบขึ้นมา เพราะมันไม่สามารถผลิตจริงได้ ทำออกมาก็หัก ถ้าไม่ให้หักก็หนักเกินไป หรือรูปทรงนี้ไม่เอื้อกับการรับแรงนั่นเอง

Specialist เป็นกลุ่มคนที่เข้ามาเสริมทัพในการพัฒนาด้านพิเศษ เช่น บางครั้งพวกเขาต้องมีนักวัสดุศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านคาร์บอนเข้ามานั่งร่วมทีมตั้งแต่แรก ตลอดจนวิศวกรด้านอากาศพลศาสตร์ระดับเทคโนโลยีอวกาศ ก็เข้ามาร่วมด้วยเพราะความแอโรฯกลายเป็นเรือ่งสำคัญไปเสียแล้ว ยาวไกลไปจนถึง ช่างสีที่กุมเอาเทคโนโลยีสีชั้นเลิศรุ่นล่าสุด ที่ทำสีได้แน่น หนา สีทนทาน แต่น้ำหนักเบาจนไม่ทำให้เฟรมสีสวยหนักเกินไป ถึงนักอุตสาหการ ที่มาช่วยคิดให้กระบวนการผลิตทำได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

 

ความเปลี่ยนแปลงนี้… ลองสังเกตุดูนะครับว่ามันคือการ”ยกพวก” มาไล่ตีลุงๆกันของเด็กรุ่นใหม่ จากช่างฝีมือที่ทำหน้าที่ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา (อย่างมากก็แยกช่างสีออกมา) ที่คนนึงต้องคิดทุกอย่างเอง ทุกขั้นตอน ทะเลาะกับตัวเอง มาเจอกับยุคของทีมงานที่นั่งตีกัน ช่วยกันเข็น ดัน จนได้ดีไซน์ใหม่ออกมาเป็นรุ่นใหม่ ทำให้ช่วงทศวรรษ 80s-90s กลายเป็นยุคที่จักรยานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากกว่าตลอดร้อยปีแรกของจักรยานแข่งขันรวมกันเสียอีก บรรดาแบรนด์เก่าแก่ก็ต้องปรับตัวอย่างยกใหญ่ ในจังหวะนั้น รุ่นลูกของ Ugo De Rosa ได้เข้ามามีส่วนร่วมในบริษัทแล้ว ในด้านการบริหาและการขาย ซึ่งก็เชื่อได้ว่า ผุ้พ่อ ยังคงคุมในด้านทิศทางของแบรนด์อยู่อย่างแน่นอน จนกระทั่งมาถึงยุคหลังปี 2000 ที่แสวงหาทางเลือกใหม่ๆ หาพันธมิตรใหม่ๆเข้ามาจับมือให้ได้ ประกอบกับการตลาดที่เปลี่ยนไปของดครงสร้างอุตสาหกรรมจัรกยาน ที่การสนับสนุนทีมแข่งใหญ่ เป็นเรื่องที่”ต้อง” ทำ แถมใช้ทุนมหาศาลรวมกันทุกปัจจัย จึงทำให้ De Rosa แผ่วลงไปในช่วงเวลาดังกล่าว

แต่หลังจากปี 2015 เป้นต้นมา โครงสร้างการบริหาร และ ทิศทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ De Rosa ปรับเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด และคาดว่าน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้พวกเขาเริ่มปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ ทั้งการร่วมมือกับชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและการออกแบบจากอุตสาหกรรมรถยนต์ กับการสนับสนุนทีมใหญ่ซึ่งได้สิทธิร่วมแข่งแกรนด์ทัวร์อย่าง cofidid หนึ่งในทีมที่”กร้าว” ที่สุดตลอดทุกรายการ (หนีแหลกทุกพื้นที่ หน้าเส้นก็เอา ภูเขาก็มา) จับมาตีไข่แตกไปได้แล้วใน Giro d’Italia หมาดๆ แฟนๆจักรยานก็คงจะเริ่มเห้นภาพลักษณ์ใหม่ของพวกเขา รวมถึงแฟนๆ De Rosa ที่ยังติดตามอุตสสสสสสสสสสสสสสสสสนี้ ก็น่าจะเห็นอีกมุมหนึ่งของแบรนด์วินเทจ ที่กำลังพยายามเปิดตำนานบทใหม่ให้อนาคตได้รำลึกถึงปี 2015 ปีที่ De Rosa ก้าวสู่จุดเปลี่ยนแห่งยุคใหม่

May 17, 2021 cyclinghub 0 Comment