วินาทีที่ร่างกายหล่นฃลงกระทบพื้น เสียงทุกอย่างเงียบลงไปในเวลาที่เสมือนจะยาวนาน ก่อนที่จะรู้สึกว่าอะไรเกิดขึ้น ความเจ็บปวดก็เริ่มวิ่งผ่านเส้นประสาทมาให้รู้สึกตัวว่านี่คืออุบัติเหตุที่เพิ่งบังเกิดขึ้น

ประสบการณ์เช่นนี้ หลายๆท่านคงเคยผ่านพบมาบ้างไม่มาก ก็น้อย ไม่หนัก ก็เบา ตามกรรม ตามวาระของวาสนาที่สั่งสมกันมาแต่ปางก่อน ซึ่นหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่ได้รับความนิยมในหมู่นักปั่น ติดท็อปไฟว์ ได้แก่อาการ “ไหปลาร้าหัก” หรืออาการบาดเจํบที่เกิดขึ้นกับกระดูกไหปลาร้าจากเหตุจักรยานล้มนั่นเอง  

กระดูกไหปลาร้า (Collarbone หรือ Clavicle)

กระดูกไหปลาร้า คือกระดูกยาว (Long Bone) เช่นเดียวกับกระดูกแขนหรือกระดูกหน้าแข้ง มีลักษณะโค้ง และเป็นกระดูกยาวชิ้นเดียวของร่างกายที่วางอยู่ในแนวนอน เชื่อมต่อกับกระดูกแขน และสะบัก ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของช่วงไหล่ มีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเชื่อมต่อ และมีส่วนในการจำกัดแนวการขยับของแขนและช่วงไหล่ รวมถึงเป็นโครงสร้างสำคัญอยู่บนกระดูกซี่โครง จึงมีความสำคัญต่อทรวงอกและอวัยวะสำคัญภายใน 

กระดูกไหลปลาร้างเป็นชิ้นส่วนหนึ่งที่เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่ายและพบได้บ่อย โดยเฉพาะในอุบัติเหตุ เนื่องจากกระดูกรับแรงกระทำโดยตรงจากแขนส่งตรงมายังตัวมันเอง ประกอบกับรูปร่างทรงโค้งแอ่น ทำให้แรงกระทำในทิศทางที่พอเหมาะ ก็สามารถทำความเสียหายให้กับชิ้นกระดูกได้ไม่ยาก สำหรับจักรยาน นี่คือหนึ่งในกระดูกที่เสี่ยงที่สุดเมื่อเกิดการล้ม เพราะร่างกายตกจากความสูงทันที และมีความเร็วมากกว่ากีฬาชนิดอื่นๆ แรงกระแทกจึงสูงกว่าตามไปด้วย

การเสียหาสยจากอุบะติเหตุที่เกิดที่กระดูกไหปลาร้า พบได้สองลักษณะใหญ่ๆได้แก่

1.Direct Impact

เกิดจากการกระแทกเข้ากับกระดูกไหปลาร้ายโดยตรง หรือแรงกระทำส่งตรงมายังกระดูกโดยไม่ผ่านกระดูยาวชิ้นอื่นๆ เช่นการล้มแล้วไหล่กระแทกพื้น เพราะอันที่จริงการรับแรงของไหล่ก็คือกระดูกไหปลาร้านี่เอง รวมถึงโอกาสที่จะถึงขั้นกระดูกหักจากการเอาไหล่กระแทกพื้น จะมีมากหรือน้อย ต้องขึ้นอยู่กับคสวามแรงและมุมกระทบเป็นสำคัญ

2.Indirect Impact

หมายถึงการบาดเจ็บที่เกิดความเสียหายกับกระดูกโดยแรงกระทำส่งต่อมาจากกระดูกยาว เช่นแขน เข้าที่แนวกระดูกไหปลาร้าโดยตรง พบได้จากการล้มแล้วเอามือยันพื้น เอาแขนยันพื้น ทำให้กระดูกไหปลาร้า ซึ่งอ่อนแอกว่ากระดูกชิ้นยาวอื่นๆ รับแรงกระทำต่อและหักในที่สุด (เพราะถ้าไหปลาร้าไม่หัก แขนก็จะหักแทน) กรณีนี้อาจพบไม่มากนัก เพราะในอุบะติเหตุลักษณะนี้ อาการบาดเจ็บมีักไปปรากฏอยู่ที่แขน ข้อศอก เส้นเอ็นมากกว่า

อย่างไรก็ตาม การล้มแล้วเอามือยันพื้น ถือวส่าอันตรายกว่ามาก เพราะโอกาสเกิดความเสียหายมีมากกว่า มันอาจไม่เกิดกับไหปลาร้า แต่กระดูกชิ้นอื่นๆมักจะไม่รอด แปลง่ายๆคือ ถ้าเอาไหล่ลง ถ้ารอดคือมีแค่อาการบาดเจ็บทั่วไป ยกเว้นมุมซวยจริงๆ แรงส่งตรงมาที่ไหปลาร้าถึงหัก แต่ถ้ามือยัน ไหปาจไม่หัก ก็”ปลุ้นชิ้นอื่นกันแทน ดั้งนั้น ข้อควรระวังเมื่อเกิดจักรยานล้มคือ พยายามเอาร่างกายส่วนหนาลงพื้นแทนที่จะเอาไหล่ หรือแขนยันพื้น เพราะนั่นคือบ่อเกิดของความเสียหายถึงขั้นบาดเจ็บสาหัสได้ (แต่กระดูกสะโพกก็ต้องระวังนะครับ ชิ้นนั้นถ้าแตกหัก นอนกันยาวๆไปเลย)

ข้อสังเกตุเมื่อไหปลาร้าหัก

เนื่องจากไหปลาร้าเป็นชิ้นกระดูกที่กำหนดแนวการเคลื่นไหวของแขน ดังนั้น หากพบว่าไม่สามารถขยับแขนในมุมต่างๆได้ หมทุนไหล่ ยกแขนได้ไม่ปกติ มีอาการปวด เจ็บ ไม่สามารถห้อยแขน ยกแขนท่อนล่างขึ้นได้ ให้ระแวงไว้ได้ก่อนเลยว่าไหปลาร้าน่าจะหัก และควรเก็บแขนชิดตัวเอาไว้ ยกแขนมาแนบไว้กับอกเพื่อลดการเคลื่อนที่ของกระดูกซึ่งนอกจากจะเจ็บ ก็ยังเสี่ยงที่จะไปทำให้อะไรๆเสียหายตามมาอีก จากนั้นรีบไปพบแพทย์ให้ได้เร็วที่จริงหากคุณเป็นแฟนกีฬาจักรยานก็จะพบเห็นนักปั่นอาชีพ ที่ล้ม ไหปลาร้าหัก อาจยังสามารถลุกมาปั่นต่อมือเดียว ห่อแขนติดตัวเพือเข้าเส้นชัยต่อได้ เพราะนั่นคือวิถีของอาชีพพวกเขา นักแข่งบางคนก็หักแล้ว หักอีกหลายๆรอบก็มีไม่น้อย

ตอนต่อไป พบกับ การรักษาอาการไหปลาร้าหัก และขอปฏิบัติตัวเพื่อรักษาตัวเอง และเหตุผลสำคัญที่ทำไม”โปร” ถึงหายมาปั่นจักรยานได้อย่างรวดเร็ว เพียงไม่กี่เดือน พวกเขาก็กลับมาลงสนามแข่งได้อีกครั้ง

May 16, 2018 cyclinghub 0 Comment