“ชิป”ชิปจะอยู่หรือหาย เป็นเรื่องที่การแข่งขาดไม่ได้จริงหรือ?

การแข่งจักรยานและกิจกรรมการปั่นต่างๆก็ถูกพัฒนาและเติบโตขึ้นเพร้อมๆกับความนิยมกีฬาจักรยานในช่วระยะเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา และเมื่อกิจกรรมนี้ผลิขึ้นมาบนหน้าปฏิฑินชนถี่เป็นดอกเห็ด ชนกันสัปดาห์ละหลายงานจนนักั่นต้องเลือกอย่างหนักใจว่าจะลือกไปงานไหนดี นอกเหนือจากการจัดการแข่งขันที่ดีเยี่ยม ความปลอดภัยที่วางใจได้ ของแถมมากมาย เรื่องของผลการแข่งขันก็ถูกนำมาใช้เป็นสิ่งจูงใจให้นักปั่นเลือกไปงานของตน

 

“ชิปจับเวลา”คือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการแข่งขันอย่างแพร่หลาย และได้รับการตอบรับอย่างรวดเร็วทั้งจากนักปั่นแบะผู้จัดการแข่งขัน ทั้งในแง่ของการออกผลการแข่งที่รวดเร็ว และลูกเล่นให้นักปั่นได้มีผลการแข่งขันของตนเองกลับบ้านไว้เป็นแรงจจูงใจให้พัฒนาตนเองต่อไป ปัจจัยหนึ่งก็มาจากภาพการแข่งขันจักรยานระดับโลกที่รับชมกันอย่างแพร่หลาย ก็ใช้ระบบชิปจับเวลา เห็นผลเวลากันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว หรือถ้าจะพูดให้ชัดเจนก็คือ มันคือความ”อินเตอร์” ของการแข่งที่แลดูมี”มาตรฐาน” จถึงจุดหนึ่งก็มีวลีพูดกันว่า “ไม่มีชิปไม่มีผล” แต่ในวันนี เราจะมานำเสนอสิ่งที่หลายๆคนไม่เคยรับรู้มาก่อนว่า แท้ที่จริงแล้ว ในการตัดสินการแข่งขันจักรยานในระดับสากล “ชิป” นั้นมีความสำคัญอยู่ในระดับนั้นจริงๆหรือ และอะไรที่เป็นสิ่งจำเป็นในการออก”ผลการแข่งขัน” เพื่อไม่ให้เกิดอการ “ชิป” มัน “หาย” อย่างที่เป็นอยู่ในหลายๆรายการ ที่กลายเป็นกรณีดราม่ากันมากมายแทบทั้งปี

 

ก่อนอื่นเราต้องมาดูหัวใจของผลการแข่งจักรยานกันสักนืดว่าแท้ที่จริงการตัดสืนจักรยานนั้นตัดสืนกันอย่างไร?
หลักการตัดสืนกีฬาจักรยานนั้นเรียบง่ายมากๆ เพราะโดยพื้นฐานมันคือการ ตัดสืนเพื่อหาคนที่ขี่ได้เร็วกว่าและสามารถเข้าเส้นชัยได้ก่อนคู่แข่ง ดังนั้นการประเมืนหาผู้ชนะในการแข่งขันหัวใจสำคัญที่ใช้กันอยู่ในการแข่งขันสากลคือการหาว่า ล้อหน้า ที่สุดขอบด้านหน้าสุดของใคร ผ่านเส้นชัยเข้าไปได้ก่อน นั่นแหละคือผู้ชนะ นอกจากเกมส์การแข่งขันแบบเสตจเรสแลแ้ว จริงๆคนแข่งกับคนจัดไม่ได้สนใจเรื่องเวลาที่ใช้ปั่นเลยด้วยซ้ำ ถ้าจะมีเรื่องของเวลามาเกี่ยวข้องจริงๆ จะเป็นการแข่งแบบจับเวลา หรือไทม์ไทรอัล(และเปอร์ซูท)มาเกี่ยวข้อง นอกนั้น สิ่งสำคัญคือ “ล้อที่ผ่านเข้าเส้นชัย” ด้วยเหตุนี้ ทำให้ในการแข่งจักรยานสากลอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อหาผู้ชนะจริงๆของการแข่งขันคือ ภาพถ่าย นั่นเอง

 

ทีนี้เราต้องมาทำความรู้จักกับระบบภายถ่ายเพื่อตัดสินผลการแข่งขันกันสักหน่อยจะดีไหม?
หลายๆท่านคงคยเห็นภาพของภาพถ่ายที่ตัดสินว่านักปั่คนไหนคือคนชนะ ในการเชือดเฉือนหน้าเส้นของเหล่านักแข่งระดับโลกกันไปบ้างไม่มากก็น้อย ตามความเข้าใจของคนส่วนมาก ภาพถ่ายน่าจะนำมาใช้เพื่อตักสินหาผู้ชนะในกรณีที่เข้าเส้นชัยไปแบบเชือดเฉือนจนตาคนแยกไม่ออกสินะครับ แต่จากการสอบถามหัวหน้าผู้ตัดสินนานาชาติ ของสมาคมจักรยานฯ เรากลับได้ความรู้ใหม่ที่พลิกวิธีคิดอย่างสิ้นเชิง ภาพถ่ายที่นำมาใช้นั้น ไม่ใช่เพื่อแสดงวินาทีเข้าเส้นชัยของผู้ชนะแต่อย่างใด จริงๆมันคือระบบอัจฉรียะที่สามารถจำแนกทั้งลำดับการเข้าเส้นและเวลาที่นักปั่นใช้ได้ด้วย หลักการทำงานของมันคือ กล้องถูกตั้งเิอาไว้หน้าเส้นใชัยที่ตำแหน่งตรงกับเส้นชัย และสามารถถ่ายภาพความเร็วสูงได้หลักพันภาพต่อวินาที! กล้องจะทำการบันทึกภาพของนักปั่น”ทุกคน” ที่ตำแหน่งล้อหน้าแตะกับแนวเส้นชัยเอาไว้ พร้อมทั้งอ้างอิงเวลาของภาพนั้น ทีนี้ นักปั่นแต่ละคนก็จะมีภาพของตนเองในวินาทีผ่านเส้นชัยเอาไว้ พร้อมทั้งเวลาห่างของแต่ละคัน อ้างอิงจากเฟรมของภาพถ่ายแล้ว

 

สิ่งที่น่าอัศจรรย์ในเทคโนโลยีคือ ระบบจะนำภาพที่ได้ของ”แต่ละคน” มาเรียงต่อกันใหม่ โดยสามารถเลือกให้วางภาพลงบนแนวเส้นเวลาที่ขยายออกมาได้ ดังนั้น ภาพของแต่ละคนจึงวถูกวางลงบนพื้นหลัง มีระยะห่างจากกันมากขึ้นตามระยะเวลาที่นำมาขยาย แล้วนำมาหาผู้ชนะ หรือตำแหน่งของแต่ละคนอย่างชัดเจนมากขึ้น ในกรณีนี้เอง ที่ผู้ตัดสินมองเห็นลำดับการเข้าเส้นชัยของแต่ละคนได้อย่างชัดเจน ไม่เพียงคนแรกเท่านั้น แต่ยังสามารถมองหาคนที่ 2-16 หรือจะอันดับไหนก็ตามที เพื่อนำมามอบเวลาโบนัส แต้มสะสม หรือตัดสินผลอย่างละเอียดได้ด้วย นี่เองคือหัวใจสำคัญของการตัดสิน

จากนั้น เนื่องจากภาพของนักปั่นแต่ละคนถูกวางลงบนแนวเส้นเวลาสมมุติได้ ก็แปลว่า เราสามารถรู้ช่องว่างเวลาที่แตกต่างกันของแต่ละคนได้อย่างแม่นยำ โดยไม่มีระบบไฟฟ้าใดๆมาเกี่ยวข้อง ไม่มีเรื่องของการจับสัญญาณ ไม่มีเรื่องของเซ็นเซอร์ มีเพียงภาพถ่ายความเร็วสูงมากและระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถประมวลผลเลือกหาภาพจังหวะขอบล้อหน้าแตะเส้นชัยของแต่ละคน นับจำนวนเฟรมและคิอดเป็นเวลาของแต่ละคันออกมา ว่าบวกจากคนก่อนหน้านั้นกี่เสี้ยววอนาที และถูกนำมาแปลผลเป็นเวลาที่ใช้เป็นผลการตัดสิน หรือนำไปอ้างอิงในการนำเสนอผลการตัดสินเมื่อสรุปการแข่งขันได้
นี่คือ”พระเอก” ของการตัดสินการแข่งจักรยานอย่างแน่แท้ และถูกใช้เป็นตัวหลักในการตัดสินการแข่งขันระดับสากล
อ่านมาตรงนี้ หลายๆท่านคงคิดว่านี่มันเทคโนโลยีราคาแพง แล้วเราจะหามาได้อย่างไร และคงมีข้อคาใจว่ามันจะไม่ผิดพลาดได้จริงหรือ

 

ก็มาถึงพระรองของการตัดสินในลำดับต่อไป เพื่อใช้ในการประเมินผลออกมา ซึ่งในโลกนี้ เครื่องมือที่ประมวลผลออกมาได้ดีที่สุดคือ “มนุษย์” หรือกรรมการผู้ตัดสินนั่นเอง ในการแข่งจักรยาน กรรมการผู้ตัดสอนหน้าเส้นชัยหรือจุดสปรินท์ต่างๆถือว่ามีควสามสำคัญอย่างมาก และพัฒนารูปแบบการทำงานมาเป็นเวลายาวนาน มีผู้ตัดสินหลายคนแยกกันจับตามองนักปั่นในแต่ละอันดับ เช่นกรณีที่มองหาผู้ชนะอันดับ 1-3 จะมีผู้ตัดสินสามท่านทำหน้าที่จ้องหาตำแหน่งที่ตนเองรับผิดชอบโดยเฉพาะเพื่อให้ได้ผลที่แน่นอนที่สุด ซึ่งความยากของการทำหน้าที่นี้ไม่ใช่ผู้ตัดสินที่มองหา”คนแรก” แต่คือผู้ตัดสินที่มองหาอีกสองคนที่จะได้ขึ้นไปยืนโพเดี้ยมรับรางวัลมากกว่า

ส่วนเรื่องของเวลา ก็จะใช้ระบบการคิดง่ายๆว่าหากเข้าเส้นชัยมาเป็นกลุ่มพร้อมกันนักแข่งก็จะได้เวลาเดียวกัน นอกเสียจากจะมีระยะห่างในการเข้าเส้นชัยหรือตำแหน่งที่อยู่มากกว่า 1 หรือ 3 วินาที แล้วแต่กรณี และผู้ตัดสินเหล่านี้ก็จะใช้นาฬิกาจับเวลาเป็นเครื่องมือสำคัญของตนเอง
จากเรื่องราวนี้เอง ที่การจะมีผู้ตัดสินผลการแข่งขันหน้าเส้นชัยที่”ใช้งานได้”สักคน จึงต้องผ่านการฝึกฝน สั่งสมประสบการณ์มาเป็นเวลานาน เพราะว่าก็ว่ากันเถอะ นี่คือทักษะในการตัดสินโดยเฉพาะเลยล่ะครับ

ด้วยการประกอบทั้งสองส่วนนี้ จริงก็เพียง
พอที่จะได้ผลการแข่งขันออกมาแล้ว แต่ในการตัดสินให้แน่นอนที่สุด บางครั้ง ผลที่ได้จากมนุษย์ และภาพถ่ายก็ออกมาไม่เท่ากันเป๊ะๆ ทางเทคนิค หัวหน้าผู้ตัดสินจะยอมรับในความคลาดเคลื่อนของผลเวลาที่ได้จากทั้งสองกรณีนิดหน่อย หากมีความคลาดเคลื่อนมากเกินไป หรือลำดับไม่สอดคล้องกัน ส่วนมากจะใช้ภาพถ่ายเป็นตัวอิ้างอิง อย่างไรก็ตาม ในกรณีหนึ่งในหมื่น ก็เคยมีเหตการณ์ที่ระบบภาพถ่ายมีปัญหาขัดข้อง ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าท้ายที่สุดระบบล้าสมัยไดโนเสาร์ แบบคนนี่แหละ ที่มีความเสี่ยงจะล่มน้อยที่สุด

แล้วชิพจับเวลา เข้ามามีบทบาทอย่างไร?
ก่อนจะมาพูดเรื่องนี้ เรามาทำความรู้จักกับระบบชิพจับเวลากันสักหน่อย
ระบบชิพจับเวลาหรือ RFID แบ่งออกเป็นสองชนิดหลักด้วยกันได้แก่ระบบ Active ซึ่งหมายถึงชิพที่มีพลังงานไฟฟ้าในตัวเองในรูปแบบของแบทเตอรี่ และระบบ Passive หรือชิพที่ตัสส่งสัญญาณไม่มีแหล่งพลังงานในตัวแต่อาศัยพลังงานที่ส่งมาจากเสาสัญญาณเพื่อปลุกให้ตัวมันเองพร้อมใช้งานเมื่อผ่านเซ็นเซอร์จับที่เส้นชัย
อธิบายง่ายๆก็คือแบบแรกชิพมีถ่าน(จะเปลี่ยนได้หรือไม่ไม่สำคัญ) ตัวมันเองพร้อมทำงานตลอดเวลาและถูกตรวจจับได้ทันทีเมื่อผ่านเซ็นเซอร์รับสัญญาณที่เส้นชัย จะมาเมื่อไหร่ อย่างไร ช้าหรือเร็ว ติดกันแค่ไหนก็ไม่ใช่ปัญหา และมีความแรงของสัญญาณมากกว่าแบบที่สอง แถมยังเสถียรกว่ามาก เราพบเห็นชิพแบบนี้ในการแข่งจักรยานอาชีพทั่วไป มักติดอยู่ที่ตะเกียบหน้าหรือดุมหน้าของรถ เพราะอะไรรู้มะเยครับ? ง่ายๆเลย ชิพพวกนี้มันไวมาก แค่ติดต่างที่กัน ผลการแข่งก็ต่างกันได้แล้ว จึงนิยมติดให้อยู่หน้าสุดท่าที่จะทำได้ นอกจากขอบของล้อหน้า ก็ที่แนวดุมหน้านี่แหละ ที่หน้าสุดเท่าที่ทุกคันจะมีตรงกันได้

ส่วนชิพระบบ Passive เวลาใช้งานจะต้องมีเสาส่งสัญญาณคลื่นวิทยุไปที่ตัวชิพก่อน เพื่อให้ชิพพร้อมใช้งาน ตัวมันเองจะสะสมพลังงานเอาไว้ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่เพียงพอที่จะผ่านเส้นชัยไปได้และถูกเซ็นเซอร์ตรวจจับได้ ซึ่งใช้งานได้ดีในกีฬาวิ่ง ที่นัแกข่งเคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วไม่สูงมาก แถมไม่ค่อยเข้าเส้นชัยกันเป็น”ฟูง”เสียด้วย สำหรับปัญหาที่พบในกีฬาจักรยานคือ เมื่อนักปั่นมาเป็นก้อนใหญ่ๆ การตอบสนองต่อสัญญาณของชิพแต่ละตัวในตำแหน่งต่างๆมีไม่เท่ากัน และกลายเป็นเหตุให้เวลาที่ได้จากการอ่านตรงจุดเส้นชัยคลาดเคลื่นไปด้วย ในระยะแรกๆที่มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับการแข่งจักรยาน มีปัญหามากมาย แม้กระทั่งชิพไม่มีสัญญาณและไม่มีผลการแข่งขัน แม้ว่านักแข่งและเพื่อนนักแข่งจะสามารถยืนยันได้ว่าเขาคนนั้นผ่านเข้าเส้นชัย

ส่วนปัญหาสำคัญของชิพระบบ Active คือตัวชิพมีระคาสูง นักแข่งในยุโรปที่แข่งเป็นประจำจะซื้อชิพที่ลงทะเบียนเป็นหมายเลขประจำตัวของตนเองเพื่อใช้งานตลอดทั้งปีไปเลย ในขณะที่นักแข่งที่ไม่ได้แข่งประจำจะเช่าชิพเพื่อใช้ในการแข่งเป็นครั้งคราวไป ส่วนนักแข่งอาชีพ แน่นอนว่าพวกเขามีผู้จัดเตรียมชิพให้อยู่แล้ว เรื่องราคาไม่ใช่ปัญหาอะไร
ด้านราคาที่ว่าแพงคงสงสัยกันว่าแพงนั้นเท่าไหร่? ราคาค่าตัวมีแตกต่างกันไปตามยี่ห้อของชิพ ตั้งแต่หลักพันต้นๆไปจนถังหลายๆพันก็มี ท่านผู้อ่านคงคิดว่า หลักพันเท่านั้นเอง ทำไมว่าแพง ก็รถคันละหลายหมื่น เป็นแสนก็มีเงินจ่าย แต่คุณลองคิดดูนะครับ ในยุคที่ค่าสมัครงานปั่นจักรยานราคาห้าร้อยบาท คนยังบ่นว่าแพง รอไปงานฟรีหรือรอลดราคา ถ้าให้คุณต้องจ่ายเงินค่าสมัครงาน และเช่าชิพใช้วันนั้นอีักสักพันบาท หรือวางเงินมัดจำชอพสักสองพันบาท คุณคิดว่าจากงานปั่นที่มีคนมาร่วมพันๆคน จะเหลือสักกี่คน และยังไม่นับอีกว่า ชิพจะหลุด หล่น หายสาปสูญไปหรือไม่ จะมีนักปั่นสักเท่าไหร่ที่รู้สึกว่าการไปคืนชิพมันยุ่
งยาก แล้วติดกลับบ้านไปเลย หรือแม้แต่แบบซื้อขาด จะมีคนสักเท่าไหร่กัน ที่จะซื้อชิพเอาไว้แข่งอย่างต่อเนื่อง ถ้าจะนับเฉพาะขาแรงนักแข่งขาประจำ นับหัวได้ก็คงไม่มากมายนัก เอาง่ายๆ คุณจะซื้อชิพหรือไม่ หากปีนี้คุณยังไม่มั่นใจว่าจะไปร่วมกี่งาน

เอ้ากลับมาเข้าเรื่องกันก่อนจะบ่นยาวไปกว่านี้
ชิพถูกนำมาใช้ในการแข่งจักรยานเพื่ออะไร อันนี้มองในมุมของระบบที่ทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพนะครับ หมายถึงการใช้ Active RFID ในการแข่งขันแบบมาตรฐาน ชิพมีหน้าที่หลักคือการ”นับตำนวน” นักแข่ง และระบุตัวตนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในงานสมัครเล่นระดับโลก พวกเขาใช้ชิพนี่แหละ นับจำนวนนักปั่นในแต่ละช่วง เพื่อดูแลความเรียบร้อยในการจัดงาน ส่วนในระดับการแข่งอาชีพ ชิพนำมาช่วยเป็นตัวยืนยันอันดับสุดท้าย ซึ่งไม่ได้อ้างอิงมากด้วยซ้ำ เนื่องจากระบบภาพถ่ายในอันดับแรกมีความเสถียรสูงมาก ประกอบกับการพิจารณาและทักษะของผู้ตัดสิน ชิพจึงแทบไม่มีความจำเป็นเลยแม้แต่นิดเดียว ผลเวลาที่ใช้ก็ไม่ได้มาจากระบบชิพจับเวลา มันจึงเป็น”ตัวประกอบ” ในมุมของการตัดสินนั่นเอง

แต่ประกายที่ทำให้เกิดงานเขียนนี้มาจา่กวลีที่กลายเป็นความเข้าใจของผู้จัด
งานและนักแข่ง(นักปั่น)บ้านเราคือ “ไม่มีชิพไม่มีผล” งานต่างๆที่เรียกว่ามีมาตรฐานดียอดเยี่ยมต้องมีชิพจัับเวลา และคนปั่นก็จะยิ้มร่าหากปั่นจบลงแล้วได้เวลาของตนเองที่ได้มาจากการอ่านของชิพ บอกว่าทำเวลาได้เท่าใด อยู่อันดับไหนของการปั่นงานนั้น ซึ่งก็บ่อยครั้งอีกล่ะ ที่เราได้เห็นกรณีวุ่นวายที่เกิดจากความล้มเหลวของระบบชิพที่เรานำมาใช้กัน ส่งผลให้เกิดกรณีต่างๆดราม่าอย่างสนุกสนาน รวมถึงพาลให้คนเข้าใจไปว่าระบบจับเวลาด้วยชิพนี้ ยอดเยี่ยมที่สุดและน่าเชื่อถือที่สุด หากจะเป็นมาตรฐานต้องมีใช้เท่านั้น ทั้งที่เมื่อเราศึกษาและไปเสาะหาข้อมูลมาเข้าจริงๆแล้ว มุมมองของระดับผู้ตัดสินนานาชาติ ดีกรีหัวสหน้าผู้ตัดสอนทัวร์อาชีพ และคณะผู้ตัดสอนชองแชมป์โลก มองว่าชิพกลายเป็นตลกร้ายของการจัดการแข่งจักรยาน

มองในมุมเป็นธรรม ก็จะพบว่า เรื่องจะนำภาพถ่ายหน้าเส้นแบบที่เล่ามา มาใช้ในการแข่งทัาวไปนั้นคงไม่อยู่ในภาวะที่เป็นไปได้ ครั้นจะให้มีกรรมการผู้ตัดสินระดับมากประสบการณ์และทักษะสูงไปทุกงานก็คงเกินกำลังบุคลากรในประเทศนี้จะมีเช่นกัน ในเมื่อการแข่งเติบโตขึ้น ระบบอัตโนมัติจึงกลายเป็นทางออกที่สะดวกที่สุด ข้อนี้พวกเราเข้าใจดี และไม่ได้คัดค้านการใช้ชิพจับเวลา อย่างไรก็ดี อยากให้เข้าใจทัาวกันและเล็งเห็นถึง”จุดอ่อน”ของระบบดังกล่าว พร้อมทั้งรับรู้ว่าในมุมสากล ระบบนี้ มีความน้่าเชื่อถือและถูกนำไปใช้ในการออก”ผล” มากน้อยอย่างไร เพื่อไม่ให้วลี “ไม่มีชิพไม่มีผลการแข่ง” หายไปจเสียที

April 10, 2018 cyclinghub 0 Comment