นับตั้งแต่วันที่”พี่ตูน” วิ่งจากใต้สุด ไปสู่เหนือสุดของประเทศไทย ก็จุดประกายให้คนไทยพากันรักสุขภาพและหันมาดูแลต้วเองด้วยการออกกำลังกายกันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ หากมองย้อนกลับไป จักรยาน ได้เริ่มก้าวเข้าสู่การเป็นกระแสของการ”ออกกำลัง” ของคนสังคมผู้นำทางความคิดมาเกือบๆสิบปีเข้าไปแล้ว จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของจักรยานในความ”คูล” ที่ได้รับกระแสส่งต่อมาจากหนุ่มสาวที่มีหน้ามีตาในสังคม ตลอดจนดาราศิลปิน ที่จับเอาจักรยานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมโปรด ที่มองไปดีๆ มันเป็นจังหวะเวลาเดียวกับที่ในสหราชอาณาจักร เข้าสู่ช่วงเบ่งบานที่สุดของกระแสจักรยาน

เพียงระยะเวลาไม่นาน จักรยานต้องเป็นสิ่งที่หากคุณต้องการมีส่วนร่วมในสังคมแล้ว คุณต้องมีสักคันในครอบครอง จนถึงจุดที่ เปล่งประกายสว่างที่สุดเท่าที่โลกสองล้อแห่งสยามประเทศเคยมี เมื่อจักรยานกลายเป็นจะเป็นไปไม่ได้

แต่ ในการเติบโตนั้นเอง ที่เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมจักรยานไปจากก่อนเคยเป็น แทบจะสิ้นเชิง ผสมกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดยิ่งกว่าของกิจกรรมวิ่ง ส่งผลให้เรามองเห็นประชญาที่แตกต่างในความเหมือนกัน และความเปลี่ยนไปที่หลายๆคนอาจสังเกตเห็นแต่มองข้าม

 

ยังไม่ต้องมาดูในปัจจัยของบ้านเราครับ ไปดูกันที่เมืองฝรั่งกันสักหน่อย คราวนี้ HUB ขอนำเรื่องราวจากเมืองลุงแซม แดนมะกัน มาเล่าให้ฟังกันสบายๆไม่ต้องคิดมาก แต่เป็นจุดที่น่าสนใจในการหันมามองตัวเรา

ในปีนี้ มีความเปลี่ยนแปลงที่น่าตกใจในแวดวงการปั่นทั้งระดับสมัครเล่นและระดับเอาจริงเอาจังของจักรยานบ้านเขาอยู่มากมาย หนึ่งในนั้น คือการเข้ามานั่งตำแหน่งบริหารทีมจักรยานอาชีพของชายผู้อยู่เบื้อิงหลังงานมาราธอนใหญ่ และการเข้ามาเป็นกรรมการบริหารงานปั่นขนาดยักษ์ของอดีตผู้บริหารที่ดันให้แบรนด์รองเท้ากีฬาเจ้าหนึ่งขึ้นมาถึงระดับแบรนด์โลกได้มาแล้ว ดังนั้น เราจึงพอมองเห็นภาพใหญ่ว่า พวกเขากำลังเรียนรู้อะไรบางอย่างจากทิศทางของกิจกรรมวิ่งอย่างที่จั่วหัวมา

 

ย้อนกลับไปเกือบยี่สิบปี ในอเมริกาเหนือ มีร้านขายอุปกรณ์วิ่งเพียง 450 ร้านทั่วประเทศ เรียกว่ามีจำนวนพอๆกับร้านจักรยานก็ว่าได้ แต่ตอนนี้ จำนวนดังกล่าวได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เพราะ ร้านวิ่ง มีจำนวนร้านมากกว่าร้านปั่นหลายเท่าตัว แม้ว่าจักรยานจะบูมมากในสหรัฐอเมริกาจากกระแส แลนซ์ อาร์มสตรองก็ตาม

แต่อะไรคือที่มาของเส้นทางนั้น?

 

โดยธรรมชาติของกิจกรรมทั้งสองชนิด ความเหมือนร่วมคือมันคือกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เพื่อการพจญภะย และชีวิตกลางแจ้งเหมือนๆกัน แต่ความต่างคือ จักรยาน เป็นกิจกรรมเชิงสังคม ส่วนการวิ่ง เป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างมีความเป็นปัจเจกสูงกว่ามาก สังเกตง่ายๆจากตัวธรรมชาติของมันเอง จักรยานปั่นไปด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่  ถึงจะตางคนต่างมา ชนิดคนละประเทศ แต่เมื่อลงไปปั่น ก็จะรวมตัวกันไปด้วยกัน แบ่งความเหนื่อยและช่วกันพากลุ่มไปราวกับสนิทกันมาแต่ปางก่อน

อาจเป็นเพราะจักรยาน มีปัจจัยเรื่องกระแสลม ที่ทำให้นักปั่นที่แข็งแรงแตกต่างกัน สามารถประคองเกาะกลุ่มกันไปได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับการวิ่ง โอกาสที่คุณจะเห็นการวิ่งกลุ่มใหญ่นับสิบๆคนไปพร้อมๆกันแบบมีปฏิสัมพันธ์นั้น หาได้ยากมาก

 

อักประการสำคัญคือ จักรยาน เป็นกิจกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน นานจนเกิดวัฒนธรรมเฉพาะของนักปั่น ที่สืบทอดมาจากประเทศในยุโรป ที่จักรยานไปที่ไหน พวกนักปั่นก็จะมีวันธรรมนั้นร่วมไปด้วย หากคุณเป็นนักปั่นตัวจริง เมื่อคุณเริ่มที่จะถวิลหากาแฟดั ร้านเงียบริมทาง โกนขนหน้าแข้ง ใส่แว่นกันแดดไว้นอกสายรัดหมวก และภาคภูมิใจกับรอดแดดกร้านตัดกันบนตัวและขา คุณจะค้นพบว่า ไม่ว่าคุณไปปั่นที่ไหนในโลก นักปั่นจะมีสิ่งคล้ายกันร่วมอยู่ในนั้นไม่มากก็น้อย

 

ประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุด มันคือ รากฐานของตัวกิจกรรมเอง วิ่ง คือกิจกรรมที่คุณทำเพื่อแข่งกับสถิติ ตัวเอง เพื่อสู้กับเป้าหมายที่ตนมี แต่จักรยานโดยเบื้องลึก มันคือการปั่นเพื่อหาคนที่”เร็วกว่า” ไปได้”เร็วที่สุด”  มันมีการแข่งขันอยู่ในตัวอย่างปฏิเสธไม่ได้ ทีนี้ต้องถามว่า ไอ้เจ้าสายพันธุ์แห่งการแข่งขันขนาดนั้น มันอยู่ในชีวิตคนทั่วไปมากแค่ไหน? ในเมื่อวันปกติ คุณๆผมๆ เราๆ ก็ทำงานทำการแข่งกับหลายๆอย่างกันมาอยู่แล้ว วันว่าง วันหยุด ก็แค่อยากมีกิจกรรมให้ได้สนุก ท้าทายตัวเอง  ทำไมจะต้องมาแข่งเครียดหาอะไรให้มันมากมายนัก

 

ในสหรัฐอเมริกา จึงพบว่า จำนวนนักปั่นที่เข้าร่วมการแข่งจักรยานจริงๆจังๆ ในระบบการสะสมแต้มเลื่อนชั้นสมัครเล่น มีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆในแต่ละปั ในทากลับกัน งานปั่นแบบไม่มีอันดับ แต่ท้าทาย กลับมีคนเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆและเริ่มเป็นที่จับตามองของผู้สนับสนุนมากกว่าที่เคย

 

ย้อนบินลัดกลับมาที่ไทยกันบ้าง ในระยะแรกของการเติบโตในกระแสจักรยาน มีนักปั่นจำนวนไม่น้อยเลย ที่เข้ามาปั่นจักรยานจากการวิ่งเป็นพื้นฐานเดิมมาก่อน และพวกเขาได้นำพาเอาวัฒนธรรมของการวิ่งติดตัวมาด้วย  เราจะมองเห็นนักปั่น”ปัจเจก” มากขึ้น มาคนเดียว ปั่นคนเดียว จบคนเดียว และกลับคนเดียว ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ถ้าคุณไปหาในยุโรป ก่อนที่จะมีความเปลี่ยนแปลง คุณจะหาได้ยากมากๆ

งานปั่นต่างๆเองก็เริ่มมีผู้มาร่วมบางตาลงเรื่อยๆ เพราะงานปั่นที่ปั่นกันหลักร้อยหลักพันคน มีคนที่ได้รับความสนใจอยู่ก็แค่ไม่กี่คน นอกนั้น เข้าเส้นชัยมาแล้ว เงียบกริบ บางคนเข้ามาแล้วมองหาซุ้มเส้นชัยไม่ได้ก็เคยมี (เก็บไปแล้ว) และเมื่อเป็นเช่นนี้เอง ทำให้งานปั่นจักรยาน ดูคล้ายจะเป็นงานสำหรับคนเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ในขณะที่งานวิ่งและงานไตรฯ  ความคึกคักจะยังคงอยู่จนถึงคนที่เข้าเส้นชัยเป็นคนท้ายๆกันเลย ความสำเร็จเล็กๆของการได้”จบ” หรือ ทำผลงานได้ตามหวังจึงเป็นกำลังใจส่งต่อให้พวกเขายังอยากออกมาซ้อมเพื่อกลับมาร่วมใหม่ได้อีก

ในสหรัฐอเมริกา การแข่งจักรยานจริงๆถูกจัดให้ผู้เข้าร่วมคต้องทำการสมัครลงแข่งในระบบการแบ่งชั้น เก็บตะแนนเพื่อเลื่อนไปยังชั้นที่สูงขึ้นได้ ยิ่งชั้นสูงเท่าไหร่ก็จะมีสิทธิในการร่วมรายการสำคัญๆได้มากขึ้น และบรรดานักปั่นที่ชอบกีฬาจักรยาน ก็พากันซ้อมเพื่อลงแข่ง พัฒนาตัวเองกันอย่างมากมาย มุ่งมั่นสู่การมีสิทธิได้ร่วมรายการใหญ่ๆ ตลอดจน ไต่เต้าไปจนถึงระดับรัฐ ระดับประเทศ​และระดับโปรในที่สุด แต่เรื่องราวแบบนี้ กำลังเปลี่ยนไป เมื่อมีนักปั่นอีกมากมาย ที่เริ่มอิ่มตัว และไม่อยากไปต่อบนเส้นทางการแข่งขันระบบนี้ พวกเขาหันเหไปร่วมรายการแข่งประเภ_ทที่เรียกกันว่า “Sportive” หรือรายการที่ไม่ได้มุ่งเน้นหาผู้ชนะเป็นสำคัญ มีเส้นทางปั่นที่ท้าทาย ยิ่งใหญ่ มีผู้เข้าร่วมหลายพัน หลายหมื่น และการได้จบการแ่งขัน ก็ดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญยิ่งกว่า หรือจะลุ้นวัดใจว่าจะสามารถปั่นไปกับกลุ่มโหดๆได้นานเท่าไหร่ก็มันส์พอแล้ว ซึ่งบ้านเราเองก็มีรายการแบบนี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน แต่ความจริงที่โหดร้ายคือ รายการเหล่านี้นเองก็มีจำนวนผู้เข้าร่วมลดลงอย่างน่าใจหาย สิ่งสำคัญประการหนึ่ง ยิ่งจัด รายการก็ยิ่งโหด ยิ่งโหดเพื่อเอาใจนักปั่นหน้าเดิมๆที่มองหาเป้าหมายใหม่ๆให้ท้าทาย แต่ขาดงานที่จูงใจให้นักปั่นหน้าใหม่เข้าร่วม

ในงานวิ่ง คุณจะเห็นว่ามีระยะการวิ่งแบ่งออกเป็นระยะต่างๆอย่างชัดเจน หากใครใจไม่หวังไกลกว่าสุขภาพ การได้ร่วม”Fun Run” ก็เป็นควาทมสุขแล้ว หรือจะมุ่งมั่นไปก้าวขึ้นสู่ระยะ “สิบกิโล” ก็ดูจะเป็นไปได้สำหรับผู้ที่วิ่งอย่างสม่ำเสมอ และแน่นอนว่าระยะ “อาล์ฟมาราธอน” คือระยะในฝันของคนที่มีเป้าหมายส่วนใหญ่ ในจขณะที่ “มาราธอน” ก็เป็นสิ่งที่นักวิ่งที่เอาจริงเอาจังจะต้องสัมผัให้ได้สักครั้ง

สำหรับจักรยาน ระยะเริ่มต้นของงานต่างๆมักอยู่ที่ 50-70 กม. ใช้เวลาปั่นยาวนานตั้งแต่ชั่วโมงกว่าๆไปจนถึงสองชัวโมงกันเลยทีเดียว ต้องบอกว่าการปั่นระยะเวลานานขนาดนั้น มือใหม่ๆไม่มากจะสามารถปั่นได้อย่างสนุกสนาน หรือถ้าจบได้ ก็จบแบบร่างกรอบเปลี้ยเพลียแรง อย่าลืมกันนะครับว่า คนปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพส่วนมาก มีพิกัดระยะทางปั่นเพียง 20-30 กม. หรือระยะเวลาปั่นราวๆชั่วโมงเดียวเท่านั้น อย่าแปลกใจเลย หากนักปั่นไม่น้อยที่เข้าร่วมงานใหญ่ๆ จะรู้สึกไม่อิน ด้วยปัจจัยทั้งปวงที่กล่าวมา

และเราจะเริ่มเรียนรู้แนวทางอย่างไร? เพื่อทำให้จักรยานที่ถูกจอดอยู่ในบ้านนับแสนคัน ถูกนำออกมาปัดฝุ่นออกรับลมกันอีกครั้ง?? ข้อนี้แหละครับ ที่เราต้องเรียนรู้แล้วคิดแก้โจทย์กันต่อไป

 

 

February 20, 2019 cyclinghub 0 Comment