เคยมีการคำนวนกันเอาไว้ว่า จักรยานคันหนึ่งๆ นั้น จัดว่ามีราคาสุงสำหรับคนที่รักจะออกกำลังกาย เพราะหากคิดตามค่าเฉลี่ยของการขายจักรยาน ที่เคยมีการทำสถิติกันเอาไว้ว่า ในการขายจักรยานในงานแสดงสินค้าหนึ่งๆนั้น จักรยานที่ขายออกไปมีราคาเฉลี่ยอยู่ราวๆ 25,000 บาท ทีนี้ก็นำมาเทียบกับค่าครองชีพและอัตราเงินเดินมาตรฐานในต้องนี้ ก็พบว่า นักศึกษาจบมาใหม่ๆระดับปริญญาตรี แขนงวิชาชีพทั่วไป ต้องทำงานประมาณ 6 สัปดาห์ หรือรับเงินเดือนเกือบๆเดือนครึ่งเพื่อให้ได้จักรยานสักคันหนึ่ง ในขณะที่ หากเทียบกับอัตราค่าจ้างในสหรัฐอเมริกา จักรยานคันหนึ่ง จะมีมุลค่าเฉลี่ยเท่ากับ การทำงานเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้นเอง นั่นแปลว่า เทียบแบบกำปั้นกลมๆแล้ว จักรยานบ้านเราแพงกว่าเขาถึงสามเท่า

อันนี้นับเฉพาะค่าเฉลี่ยนะครับ ยังไม่ได้นับพวกรถเทพ อาวุธสงคราม ที่เทียบกันแล้ว ค่าตัว มีพอๆกับเงินเดือนเด็กจบใหม่ทำงานฟรีๆกันไปเลยเป็นปีก็ยังไม่ได้!

ด้วยเหตุนี้เองทำให้ “ราคา” กลายเป็นกำแพงสำคัญของการเข้าสู่กิจกรรมปั่นจักรยานของใครอีกหลายคน ไม่เพียงเท่านั้น นอกจากค่าตัวจักรยานแล้ว กว่าจะปั่นได้ คนๆหนึ่งต้องลงเงินไปกับอุปกรณ์ต่างๆอีกไม่น้อย ทั้งหมวก แว่น เสื้อ กางเกง ไหนจะยังมีอุปกรณ์อื่นๆที่จะตามมาอีกไม่มีวันจบสิ้น นั่นก็ทำให้ การจะมาปั่นจักรยาน หรือปั่นจักรยานไปแล้ว จะจับจ่ายอะไรมันเป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่น้อย แต่แล้ว วินาทีนี้ กลไกการตลาดได้หมุนเปลี่ยนไปสู่ยุคที่ คนแลาดซื้อ สามารถได้ของดี ราคาคุ้มกว่าเพื่อนที่ควักเงินไปก่อน แทบจะเรียกว่า ครึ่งต่อครึ่งกันเลยทีเดียว

ในโครงสร้างราคาสินค้าจักรยานนั้น ถูกบริหารจัดการออกมาหลายขั้นตอนกว่าที่จะได้ราคาหน้าร้านค้าที่เราๆไปซื้อกัน อันนี้ถ้านับกันตั้งแต่ออกจากโรงงานกันเลย ก็จะมีต้นทุนอื่นๆบวกแทรกอยู่ในนั้นเยอะจนคุณอาจต้องตกใจ ถึงคนนำเข้าอยากจะทำราคาให้มันถูกๆ จะได้ขายได้ดีใจจะขาด แต่ด้วยปัจจัยมันบังคับไว้ ก็ทำให้ในที่สุด ราคาของจักรยานสักคัน จึงไปจบลงที่ตัวเลขหลายหลัก ทั้งค่าขนส่ง จัดการ บริหาร การตลาด จนไปถึงร้านค้าปลีก ต้นทุนร้านค้าปลีก และ ค่าบริหารจัดการร้านปลีกอีกเพียบ (อันนี้ไม่นับระบบคนกลางขายต่ออีกนะครับ) ดังนั้น  “ราคาตั้ง” ของจักรยานจึงกลายเป็นเรือ่งปกติในประเทศไทย เพราะในการขายทั่วไปนั้น ก็จะมีส่วนลดไม่มากก็น้อยให้กับนักปั่นที่สนใจอยู่เพื่อความสบายใจ แต่ว่า ก็ยังทำให้ ราคาของจักรยาน ลดลงไปได้ไม่มากไปกว่า 10-15 เปอร์เซ็นต์ เพราะขืนถ้าลดไปมากกว่านี้ ร้านค้าย่อยคงต้องกรีดเลือดขายกันโดยไม่คำนึงถึงค่าที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าลูกจ้างอย่างแน่นอน

 

แต่ถ้าคุณมองไปที่สินค้าอีกชนิดหนึ่ง ที่อาจจะถูกนำเข้ามาแล้วกว่า 2-3 ปี ที่วางกองอยู่ในร้านค้า และโกดังของบริษัทนำเข้า คุณกำลังจะได้พบกับ”ขุมทอง” ที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เลย เพราะเมื่อเวลาหมุนผ่านไปสักพัก สินค้าที่ทำผลงานการขายได้ไม่ดีก็จะถูกนำมาทำการ”ลดราคา” อย่างรุนแรง เพื่อให้เกิดความลื่นไหลของเม็ดเงิน เรียกว่า ปล่อยของเก่าออกไปให้ได้เงินกลับมาเพื่อสั่งของใหม่ที่ตลาดอยากได้มาแทน  กลไกทั้งหมดนี้ ทำโดยผู้นำเข้า ซึ่งหลายเจ้าเองก็ร่วมมือกับร้านค้า ช่วยกันระบายสินค้าค้างเติ่งอย่างแข็งขัน คุณเชื่อหรือไม่ว่า การลดราคาถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นสิ่งที่พบได้ไม่ยากในสถานการณ์ตลาดเช่นนี้ อย่างน้อยๆ แม้จะขาดทุนกำไร เข้าเนื้อการจัดการ แต่ก็ยังได้เงินค่าของกลับมาบ้าง บริษัทใหญ่ก็พร้อมจะทุบราคากันแล้ว

จักรยานในระดับตลาด”mid-hi” หรือเสือหมอบในกลุ่มราคาราวๆ 1 แสนบาทบวกลบในแบบรถสำเร็จทั้งคันนั้น ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีสินค้าถูกนำมาลดราคาค่อนข้างบ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นจุดบอดของตลาดซื้อขาย หากมีเงินระดับนั้น นักปั่นหลายคนนิยมไปมองสินค้ามือสอง หรือรถประกอบให้ได้ของถูกใจมากกว่า ไม่เช่นนั้น รถสำเร็จทั้งคันที่ขายได้ดีจึงเป็นในรุ่นล่างๆและบนสุดไปเลย ซึ่งประการนี้เอง ที่ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะพบกับการเซลส์ของจักรยานในกลุ่มนี้ให้เห็น โดยทำราคาลงมาถึงระดับ แทบจะครึ่งราคาก็มีมาแล้ว ลองจินตนาการดูนะครับว่า ราคาราวๆ 6-7 หมื่นบาท แต่สิ่งที่คุณได้คือ เฟรมคาร์บอนตัวบนๆ ใส่มากับชุดขับรองท็อป ล้อและอุปกรณ์ต่างๆในระดับสมเหตุสมผล สามารถนำไปอัพ ไปโมดิฟายกันได้สบายใจ เอาแค่เฟรมกับเกียร์ ก็แข่งขันได้ไม่ต้องกังขาแล้วล่ะ

อุปกรณ์อื่นๆก็ไม่น้อยหน้า ไม่ว่าจะเป็นล้อ หมวก เสื้อผ้า ในสถานการณ์ตลาดนิ่งสนิทแบบนี้ การระบายสินค้าของบริษัทต่างๆ สะท้อนออกมาเป็นข้อเสนอสุดจะห้ามใจได้ คุณลองคิดภาพ มหวกจักรยานแบรนด์ยุโรป ผ่านมาตรฐานมาอย่างดีเยี่ยม แต่วางราคามาไม่ต่างกับหมวก”ปลอม” จากแดนมังกรกันเลย ข้อนี้ไม่ใช่เรื่องตลกนะครับ หมวกแบรนด์สามเอทั้งหลาย ที่เคยได้รับการตอบรับอย่างคับคั่งจากพี่น้องนักปั่นทันที่ที่พ่อค้าโพสต์ขาย ตอนนี้บางตัวเงียบจนน่าฉงน ก็แหงล่ะครับ หากคุณจะจ่ายเงินลงไป แล้วได้หมวกแบรนด์มีมาตรฐานมาในงบเดียวกัน ก็คงเหลือเพียงนักปั่นที่หลงรูป จนมองข้ามคุณภาพไปเท่านั้นที่จะยังซื้อสินค้าเหล่านั้น

 

ในทุกๆปี ช่วงกลางปีในบ้านเรา จะเป็นฤดูกาลผ่านเปลี่ยนรุ่นของสินค้าต่างๆกระจายออกสู่ร้านค้าย่อย สินค้าใหม่ ถูกสั่งและส่งไปยังร้านต่างๆ แน่นอนว่า สินค้าเก่าก็จะยังคงอยู่ แล้วสินค้าที่นอนอยู่ในร้านมาหนึ่งปี ก็คงจะถูกสินค้าใหม่ที่หอมหวนชวนคันมาบดบังกลิ่น ทางออกที่ยอดเยี่ยมคงไม่มีอะไรเกินไปกว่า การระบายออกของสินค้าเหล่านั้นในช่วงนี้ ก่อนของใหม่จะมา เอาล่ะครับ มาถึงตรงนี้ เราก็จะมองเห็นแนวทางกันได้แล้วว่า มันถูกแบ่งเป็นทางแยกอย่างชัดเจน แน่นอนว่า หากเงินไม่ใช่ปัญหา ความสุขในการได้ครองของใหม่ เป็นสุขที่ทุกคนไม่ปฏิเสธอย่างแน่นอน และคนเราทุกคน ก็พร้อมที่จะจับจ่ายลงไปเต็มที่เท่าที่กำลังจะมีโดยไม่กระทบกับชีวิต แต่ในอีกทางหนึ่งหากอยากมองหาความคุ้มค่าที่สุดในงบประมาณเดียวกัน ก็จะมีอีกหลายๆคน รอคอยจังหวะนี้ ไปจับเอาสินค้าลดราคาต่างๆ ความหล่อของการได้ครองของใหม่เพิ่งออกอาจจะไม่มี แต่รับรองว่า คุณจะเป็นคนได้ของดีราคาถูกให้เพื่อนได้เจ็บใจกันเลย

Bicycle Super Sale 2019 น่าจะเป็นหนึ่งงานจักรยานที่เล็งเอาจังหวะนี้ จัดเอาแบรนด์จักรยานต่างๆมาลดราคากันให้นักปั่นได้ส่อง ในจังหวะที่ กระแสจักรยานดูจะขยับสวนแรงลมฝนอย่างน่าประหลาดใจในปีนี้

20-23 มิถุนายน 2562 นี้ พบกันที่ ฮอลล์ 7-8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

Powered by International Bangkok Bike Super Sale 2019

June 17, 2019 cyclinghub 0 Comment