เป็นที่สงสัยและถูกพูดถึงกันมากว่า ทำไมชิงแชมป์ประเทศไทย กลายเป็นชาวต่างชาติเข้ามาคว้าแชมป์ ก่อนจะไปตอบคำถามนี้ วันนี้เรามาเริ่มกันด้วยการทำความรู้จักกับแชมป์สามแรกกันสักหน่อยครับ แล้วเดี๋ยวจะได้รับคำตอบต่อจากนี้ ซึ่งรับรองได้ว่า ผิดทางที่หลายๆท่านเหลากันร้อนแรงอย่างแน่นอนครับ แต่ทั้งหมดนี้ ส่งผลดีกับวงการจักรยานไทยในระยะยาวอย่างไม่ต้องสงสัยเลย

รับฟังเนือ้หาในแบบ Podcast

“เซนบายาร์” ชื่อนี้เมื่อวันแข่งขัน ในการถ่ายทอดสด ถือว่ามาแบบผิดหูไม่คุ้นกันเลย ผมในฐานะผู้บรรยายก็ไม่ได้เตรียมพร้อมว่าจะมีนักแข่งต่างชาติระดับมีชื่อมาลงแข่งขันด้วย ทำให้เพียงแค่”คุ้น” หูอยู่ว่าเขาคือใคร ที่แน่ๆ นี่ไม่ใช่รายการแรกที่เขามาขี่ในประเทศไทยแน่นอน และเมื่อสืบค้นขอมุลก็พบว่า หนุ่มมองโกลคนนี้ ไม่ใช่”ขนม” ที่มาร่วมสนุกเท่านั้น แต่เขาคือหนึ่งในโปรเอเชียที่มีผลงานรับรองมาแล้วเพียบ และที่โดดเด่นที่สุดคือ การคว้าเหรียญทองแดงได้จากการแข่งเสือหมอบชิงแชมป์เอเชียในรุ่น U23 หมาดๆเมื่อปีก่อน พ่วงด้วยดีกรีรองแชมป์มองโกเลียทั้งประเภทถนนและไทม์ไทรอัล ปัจจุบันสังกัดอยู่กับทีมอาชีพ “เฟรเร โปรไซคลิ่งทีม”(Frerei Pro Cycling Team) ซึ่งก็ไม่คุ้นหูกันอีกแหละครับ แต่สำหรับทีมสัญชาติยูเครนทีมนี้ คือทีมเดียวกับทีม “ซีซีเอ็น” ที่แฟนกีฬาจักรยานสายลึกของไทยต้องคุ้นหูอย่างแน่นอน ทีมมีสมาชิกหลากหลายสัญชาติดำเนินการแข่งเอเชียทัวร์ต่างๆมากมายทั้งเบลารุส, ยูเครน และ มองโกเลีย ซึ่ง เซนบายาร์ เองก็สามารถทำผลงานในเอเชียทัวร์ระดับต้นๆมาได้หลายรายการ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่พวกเขาจะยกแก็งค์กันมาฝึกซ้อมที่ประเทศไทยในช่วงฤดูหนาวของบ้านเขา เนื้องจากประเทศต่างๆแถบนั้น ต่างก็กำลังอยู่ในช่วงที่แทบจะขี่จักรยานไม่ได้กันเลยทีเดียว ภูมิอากาศของเชียงราย ค่าครองชีพ และ ส-สภาพบ้านเมือง จึงรวมกันแล้วเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขามาเก็บตัวกันอยู่ที่นี่เป็นประจำ ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อมีรายการแข่งขันในระดับนี้ไปจัดถึงหน้าบ้านพักตากอากาศ ก็ต้องลงมาลับฝีเท้ากันเสียหน่อย และในที่สุด หลังจากที่รวมกลุ่มกันหนีออกมาได้ ยืนระยะยาวๆกว่าครึ่งของการแข่งขัน และสุดกำลังที่กลุ่มใหญ่จะไล่ได้ เขาก็คว้าแชมป์ไปครองได้อย่างสวยงาม ที่สำคัญ นี่คือเหตุผลสำคัญที่แฟนๆที่รับชอมต้องสงสัยว่า ทำไม นักแข่งไทยจึงไม่สามารถเข้ามาปิดระยะห่างของเขาได้ง่ายๆ

เมื่อรู้ดีกรีกันแบบนี้แล้ว น่าจะคลายข้อกังขากันได้ว่า เพราะอะไรเขาจึงมีความ”เหนือชั้นไแสดงออกมาให้เห็นได้ และด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้สิทธิมาลงแข่งในรายการสมัครเล่นจากทีมสโมสรใหญ่ของบ้านเราเป็นประจำ  อย่างไรก็ตาม มันก็ส่งต่อคำถามตามมาอีกข้อคือ “ทำไมคนต่างชาติมาแข่งชิงแชมป์ประเทศไทย?” ซึ่งก็สร้างความสับสนให้กับแฟนๆจักรยานไม่มากก็น้อย คำถามข้อนี้ตอบได้ไม่ยากเลยครับ

 

รายการจักรยานถนนชิงแชมป์ประเทศไทย ถูกจัดขึ้นเป็นรายการเสือหมอบเก็บคะแนนสะสมตลอดทั้งปี ประกอบด้วย 5 นามเพื่อหาผู้ชนะที่รวมคะแนนสูงสุดครองความเป็นแชมป์ประเทศไทย และจะมีหนึ่งสนามที่จดทะเบียนเป็นรายการ National Championship เพื่อหาผู้มีสิทธิใส่เสื้อแชมป์ประเทศไทยในการแข่งรายการอาชีพของ UCI ดังนั้น ในสนามที่จัดนี้นักปั่นสัญชาิตไทยที่มีแต้มสุงสุดก็จะได้สิทธิรับความเป็นแชมป์ประเทศไทยไปครองนั่นเอง พวกนักปั่นต่างชาติทั้งดีกรีโปรและสมัครเล่นที่มาร่วมลงแข่ง จะไม่ถูกนำมาคิดรวมในระบบคะแนนสะสมนี้

อย่างไรก็ตาม การที่มีดีกรีนักปั่นระดับนี้เข้ามาร่วม ถือเป็นการยกระดับการแข่งขันของไทยขึ้นมาได้เ)็นอย่างดี แม้ว่ารายการชิงแชมป์ประเทศไทย สมาคมฯในฐานะผู้จัดมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ที่การปั้นรากฐานและพัฒนาเฟ้นหานักปั่นที่สามารถขึ้นมาเป็นตัวแทนของประเทศไทยได้ในแต่ละปี ซึ่งเป้าหมายในการทำทีมจักยานไทยนั้นต้องออกไปแข่งขันในเวทีเอเชียทัวร์ หรือระดับมาตรฐานสากลอื่นๆต่อไป แม้ว่าจะไม่มีข้อปิดกั้นระดับฝีเท้าของนักปั่นที่เข้าร่วม แต่ด้วยระบบการแข่งขันในแบบเซอร์กิตเรซ ก็ช่วยคัดกรองนักปั่นหน้าใหม่ที่ฝีเท้าอาจยังไม่ถึงขั้นถูกคิดออกไปก่อนจากการโดนน็อครอบไปในตัวอยู่แล้ว ส่วนกลุ่มนักแข่งระดับกลางๆขึ้นไป ก็จะได้สัมผัสกับรูปแบบการแข่งขันระดับที่สูงขึ้นกว่ารายการในประเทศเช่น กีฬาแห่งชาติ, กีฬากองทัพไทย รวมถึงรายการระดับสมัครเล่นอื่นๆ กลายเป็นอีกบันไดที่ท้าทายรอคอยพวกเขาอยู่ ส่วนที่สำคัญมากกว่านั้นคือ ขุนพลนักปั่นชุดแถวหน้าของบ้านเรา ทั้งทีมชาติและอนาคตทีมชาติที่ถูกจับตามอง ก็สามารถพัฒนารับมือกับการแข่งขันและนักปั่นระดับที่สูงขึ้นได้โดยไม่ต้องขนเอาทีมไปแข่งในต่างประเทศ อย่างที่เราได้เห็น ภุชงค์ ซ้ายอุดมศิลป์ (ทหารอากาศ) และ ธนะชาติ ยะตั๋น (สำนักงานตำรวจฯ) สามารถหนีออกมาในกลุ่มนี้ได้

 

นักปั่นอีก 2 คนที่หนีออกมาในกลุ่ม 5 คนรวมกันก็ยังมี “โชตะ ชิมาโนะ” นักปั่นชาวญี่ปุ่นวัยเพียง 19 ปี ที่คว้าอันดับ 5 รายการ ทัวร์เดอโอกินาวา รุ่นเยาวชน ซึ่งก็น่าจะเดินตามรอยรุ่นพี่ๆไปเป็นโปรอาชีพในไม่ช้า กับ บิลกันยากัล เออเดเนบัต นักปั่นมองโกเลียวัย 22 ปี เพื่อนร่วมชาติและเพื่อนร่วมทีมของ เซนบายาร์ ที่สังกัด เฟเรโปรไซคลิ่งทีม ซึ่งก็ผ่านรายการต่างๆมาด้วยกันอย่างโชกโชน เมื่อเรื่องราวออกมาเป้นแบบนี้ เกมส์การแข่งขันจึงออกมาอย่างที่เราได้เห็น เพราะในกลุ่มหนี ดีกรีกระดูกของเซนบายาร์ ที่ห้าวเป้งอย่างสุดขีด ซึ่งก็น่าจะมีเพียงภุชงค์ของไทยเราที่น่าจะฟัดเหวี่ยงได้ เชื่อว่าพวกเขาผนึกกำลังกันทำเกมส์หนีโดยอาศัยหัวรถจักรนำเข้าจากมองดกเลีย และหนึ่งกำลังนักปั่นญี่ปุ่นวัยสด ซึ่งในจังหวะสุดท้ายที่เซนบายาร์ยกหนีเดี่ยวออกมา นักปั่นไทยทั้งสองคนไม่ขยับเพราะพวกเขาต้องมาลุ้นเรื่องแต้มสะสมระยะยาวทั้งปี ในขณะที่ เออเดเนบัตเองก็ยกหน้าที่การไล่เก็บให้เจ้าหนูชิมาโนะ และก็เป็นอย่างที่คาดเมื่อ เซนบายาร์ เข้าเส้นคว้าชัยไปได้ ส่วน ชิมาโนะ สปรินท์เฉือนเซนบายาร์คว้าอันดับสอง ปิดท้ายด้วย ธนะชาติ ที่ยกเข้าเส้นมาก่อนภุชงค์แต่เวลาเท่าๆกัน

ในสนามต่อๆไปก็ต้องมาจับตาดูกันครับว่าจะมีนักปั่นต่างชาติเข้ามาสร้างความร้อนแรงให้การแข่งขันกันอีกหต่ือไม่ ต้นสังกัดในการแข่งสมัครเล่นของเซนบายาร์อย่างทีม รู้ใจดอทคอม จะนำเขามาลงต่ออีกแค่ไหน อันนี้ต้องรอชมกันยาวๆล่ะครับ ที่แน่ๆ รายการชิงแชมป์ประเทศไทย จะยิ่งร้อนแรง สนุกสนานยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน แฟนๆกีฬาก็ต้องจับตามองกันยาวๆไปครับ

January 27, 2020 cyclinghub 0 Comment