บ่อยครั้งที่เราเรียกร้องหาการตัดสินการแข่งจักรยานที่มีมาตรฐาน และอีกบ่อยครั้งที่เราถูกสอนให้รู้สึกว่าการแข่ง หรืองานปั่นที่มีมาตรฐานจะต้องมีระบบ”ชิพจับเวลา” ไม่ใช่ เอาคนมานั่งตัดสินการแข่งขัน จนในที่สุด ชิพจับเวลาก็กลายเป็น”สิ่งสำคัญ”ในความรู้สึกของคนปั่นจักรยานไปในที่สุด และสิ่งที่มาช่วยตัดสินในท้ายที่สุดคือภาพถ่าย ที่ถูกมองว่า นี่คือเครื่องมือในการตัดสินที่ถูกนำมาใช้นกรณีพิเศษเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความเข้าใจนี้ผิดไปจากแนวทางปฏิบัติสากลอย่างสิ้นเชิง

 

แนวทางการตัดสินจักรยาน คือการหาคนแรกที่เข้าเส้นชัยก่อน นั่นหมายถึง คนแรกที่ล้อหน้ามีแนวแตะกับแนวเส้นชัยก่อน คือผู้ที่ชนะ ไม่เกี่ยวเลยว่าเวลาที่เครื่องอ่านจากชิพได้จะมาก่อนหรือมาหลัง ดังนั้นในการตัดสินเบื้องต้น ผู้ชนะจะถูกตัดสินด้วย”สายตา” ของผู้ตัดสิน ในกรณีที่แยกออกอย่างง่ายดาย ผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่อยู่ที่เส้นชัยหรือจุดต่างๆจะมีหน้าที่ในการหาตัวอันดับต่างๆ มีการแจกจ่ายงานกันออกไป คนหนึ่งทำหน้าที่หาอันดับที่หนึ่ง อีกคนทำหน้าที่หาอันดับต่อๆไปตามแต่จะได้รับโจทย์ และในกรณีนี้ ทำให้การหาอันดับการเข้าเส้นที่มากันเป็นกลุ่มใหญ่ๆนั้นทำได้ยากขึ้น ซึ่งตัวช่วยแรกๆที่ผู้ตัดสินจะมองหาก็คือ”ภาพถ่าย” หรือภาพเคลื่อนไหว ที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่าใครคือผู้ที่มาถึงเส้นชัยก่อนหรือหลังกันแน่ โดย กล้องความเร็วสูงที่ออกแบบมาเฉพาะนั้นสามารถ่ายภาพได้ 2,000 ภาพใน 1 วินที และนำภาพหลายๆภาพนั้นมาประมวล เรียงกันออกมาเป็นภาพเดียวอย่างที่เราเห็นกัน เพื่อจำแนกในเสี้ยววินาทีต่างๆพร้อมทั้งหาแนวของเส้นขอบบ้อหน้าให้ได้เห็นว่า ใครเข้าเส้นชัยมาก่อนหลังอย่างไร ลองจินตนาการดูสิครับว่าในความเป็นจริงนั้น ระยะห่างของนักปั่นที่เข้าเส้นชัยอยู่ห่างกันน้อยกว่านี้ แถมยังบังกันไปกันมา ตัวภาพถ่ายแลระบบประมวลจะต้องทำงานหนักเอาภาพจำนวนมากมายมาเรียงต่อกันเพื่อหาว่าใครผ่านเส้นไปก่อนหรือหลังอย่างไร และจึงนำมาเรียงต่อกันตามลำดับอย่างที่เห็น ไม่ใช่การถ่ายภาพในวินาทีนั้น และหยุดการเคลือ่นไหวออกมาได้ออกมาอย่างเดียว

 

แล้วระบบ “ไทม์มิ่งชิพ” มันเข้ามามีประดยชน์ตอนไหน?

ในการแข่งขันเสตจเรส หรือทัวร์ที่มีหลายๆเสตจและใช้เวลารวมเป็นตัวตัดสิน ระบบการจับเวลาแต่เดิมใช้ผู้ตัดสินนี่แหละครับ จับเวลาแยกกันเป็นกลุ่มๆและค่อยๆจับแยกเอาไว้ ทีนี้ มันก็มีความวุ่นวายเกิดขึ้น เมื่อกติการะบุไว้ว่า ระยะห่างระหว่างนักปั่นที่ไม่เกิน 1 วินาที ถือว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน บางครั้ง ปัญหามันอยู่ที่ ระยะห่างมันดูเหมือน 1 วินาที แต่ะไม่ใช่ และการบันทึกเวลาทำได้ไม่ง่ายเลย ระบบชิพจับเวลาจึงเขามาช่วนยในจุดนี้ โดยทำหน้าที่ยืนยันเวลาเทียบเคียงกับที่ผู้ตัดสินจดเวลากลุ่มเอาไว้เท่านั้น รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความเรียบร้อยของการแข่งขัน การบริหารจัดการเส้นทาง และ นับจำนวนนักกีฬารวมทั้งบันทึกสถิติเพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไปมากกว่านำมาเพื่อใช้ยืนยันผลการแข่งขัน

 

จากภาพการเข้สเส้นชัยของ Tour Of Thailand 2019 ที่นำมาให้ดู มีการพูดคุยกันมากมายว่า ตกลงใครคือผู้ชนะในตำแหน่งที่เบียดกันอย่างสูสี บ้างก็มองว่า แนวของล้อหน้าสำคัญ บ้างก็มองว่า ต้องไปดูเวลาที่ชิพอ่านได้ บ้างก็มองจากแนวล้อหลังของรถคันนึง ที่น่าจะมาถึงก่อนแสดงว่าล้อหน้าต้องมาถึงก่อน ซึ่งสะท้อนว่า ความเข้าใจในการตัดสินยังมีอยู่อีกมาก แม้แต่ในกลุ่มของแฟนกีฬาจักรยานแท้ๆเองก็ยังมองหาผลจากชิพจับเวลาอยู่เลย ทั้งที่ความเป็นจริง ไม่ว่าระบบชิพแบบ Passive หรือ Active ก็ไม่ได้นำมาเป็นตัวคิดอันดับการเข้าเส้นชัยแต่อย่างใด (ในทางมาตรฐานสากล) รวมถึงรถที่มีระยะไม่เท่ากันในแต่ละรุ่นและยี่ห้อ กับตำแหน่งการติดชิพ ก็ส่งผลกับการตัดสินได้อีกหากนำเรื่องของเวลาชิพมาอ่านผล นี่ไม่นับนะครับว่า ปัญหาความผิดพลาดจากระบบ ทั้งการส่งสัญญาณ การรับสัญญาณ การบังกัน และอีกมากมาย

แล้วคุณคิดว่า เวลาจากชิพที่ไปปั่นๆกัน มันเชื่อถือได้มากขนาดไหน?

แน่นอนครับ ในการวิ่งหรือไตรกีฬาที่เข้าเส้นชัยกันมาเป็นกลุ่มเล็กๆหรือไม่มีการบังกัน มันแยกแยะได้อย่างสบายมาก แต่สำหรับจักรยาน ถือเ)็นคนละเรื่อง ทั้งการเข้าเส้นชัยมา และความเร็วที่ใช้ ดังนั้นแม้ว่า ระบบชิพและการจับสัญญาณจะแยกแยะผลได้ละเอียดยิบอย่างไรก็ตาม แต่ข้อจำกัดต่างๆก็ทำให้ระบบจับเวลานี้ เป็นเพียงเคตื่องมือช่วยเสริมการตัดสินเท่านั้น นำมาเพื่อดูสนุกๆและชช่วยตัดสิน อำนวยความสะดวกให้ผู้ตัดสินคงไม่มีปํญหา แต่หากจะต้องชี้ขาดผลการตัดสิน ทางเลือกแรกๆคือ ภาพถ่ายและสายตาของมนุษย์ที่ถูกฝึกมา ถือว่าแม่นยำกว่ามาก

และนี่คือคำตอบของคำถามตามมาว่า เพราะอะไร จักรยานจึงให้เวลาของทั้งกลุ่มที่เข้ามาเป็นเวลาเดียวกันนั่นเอง เพราะถ้าคุณไปนั่งจำแนกเวลาบุคคล ชนิดทีละวินาที (เหรือเสี้ยววินาที) แข่งกันมาเป็นร้อยคน กระจาย 5 กลุ่ม ก็กลุ่มละ 30-40 คน คุณต้องมีเครื่องมือและระบบที่มั่นใจได้ว่าจะไม่มีความผิดพลาดแม้แต่จุดเดียว เพราะมันจะส่งผลกับผลการแข่งขันทั้งหมดทันที ยิ่งถ้าต้องเก็บมาเป็นการสะสมเวลาข้ามเสตจ แข่งกันมา 5-6 วันจะจบอยู่แล้ว วันสุดท้ายเกิดมีปัญหาแค่คนเดียวในกลุ่ม ก็ไม่สามารถตัดสินผลออกมาได้แล้ว การจับเวลาของกลุ่มจึงถือเป็นการตัดสินที่สมเหตุสมผล และสอดคล้องกับ วิธีการแข่งขันจักรยาน ที่ไปเป็นกลุ่ม อาศัยความได้เปรียบเสียเปรียบของเกมส์การแข่งขันในกลุ่มมากกว่า ทว่า มือสมัครเล่นที่แข่งกันเอาสนุก หรืออยากแข่งให้่มันส์สะใจสัมผัสความโปร กลับมองหา “ผลเวลาตัวเอง” ในกลุ่ม ทีละวินาที เอามาแยกผลออกมาให้ได้ เรียกว่าเข้าเส้นชัยกันมา 50 คัน ต้องสปรินท์ให้มันตายไปข้างนึงเพื่อให้เวลาตัวเองดีกว่าคนในกลุ่ม ทั้งๆที่อันดับถ้วยมีเพียง 5 อันดับ จนล้มเทกระจาดระเนระนาด เฟรมแตก คนกระดูกหักก็มีมาแล้ว จึงฝากมาเป็นความรู้และวิธีคิดกันเอาไว้ตรงนี้ครับ ทั้งนักปั่นและผู้จัด เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของมัน หากยังไม่พร้อมที่จะตัดสินโจทย์ยากๆ ก็เรียกหาคนที่ถูกฝึกมาให้ลงมือทำและปฏิบัติได้จริงๆ หรือถ้าสุดท้าย ไม่สามารถทำได้ ก็จัดเป็นงานปั่นแบบ Sportive  หรือไม่ต้องตัดสินอะไรให้มันวุ่นวายจะดีกว่า

April 11, 2019 cyclinghub 0 Comment