
by indieopera
เพื่อนๆในfacebook ผมหลายคนมักจะมีcaption ขำๆว่า“คิดถึงเขาไปหาเขา” ไปๆมาๆพอไปหาเขาจริงก็พังยับส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากความไม่คุ้นเคยกับการปั่นขึ้นเขานั่นเองวันนี้เราเลยจะชวนทุกคนมาปั่นขึ้นเขากันครับ ว่าแล้วก็มาดูกันกันค
เตรียมรถให้พร้อมลุย
เพราะการปั่นจักรยานขึ้นเขาเป็นการเคลื่อนที่ผ่านความชันที่ต้องเอาชนะแรงโน้มถ่วงโลกตัวกำลังเราเองการเตรียมรถให้พร้อมน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุดอย่างแรกน่าจะเป็นเฟืองหลังสัก11-32 กับจานหน้า50/34 หรือ52-36 ก็พอเป็นไปได้ซึ่งการที่มีระบบขับเคลื่อนที่เหมาะสมมีผลอย่างยิ่งต่อ“ปริมาณรอบขา” ที่เกิดขึ้นซึ่งรอบขาที่ต่ำมากเกินไปเช่น30-40 รอบต่อนาทีการปั่นจะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหากออกแรงติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อล้าและเกิดตะคริวขึ้นมาได้
เรื่องที่2 คือล้อถ้าเป็นไปได้ควรใช้ล้ออลูมิเนียมขอบต่ำซึ่งจะช่วยให้การเบรคขณะลงเขาสามารถทำได้ดีกว่าสำหรับผู้ที่ใช้ล้อคาร์บอนไม่ถนัดนักส่วนการใช้ล้อคาร์บอนก็สามารถใช้ได้แตไม่ควรลงเขาด้วยความเร็วที่สูงมากนักเนื่องจากการเบรคลงเขากับล้อคาร์บอนโดยเฉพาะยางงัดจะมีความร้อนสะสมที่ขอบล้อมากกว่ายางฮาร์ฟ ซึ่งมีโอกาสที่ล้อจะเสียหายได้ ที่สำคัญผ้าเบรคควรเช็คความสมบูรณ์เพราะการลงเขาถ้าพบาสขึ้นมาเพียงนิดเดียวอาจนำไปสู่การบาดเจ็บอุบัติเหตุและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ลดน้ำหนักให้ดีและเป็นไปได้
ในที่นี้หมายถึงทั้งทั้งคนและรถนะครับเนื่องจากการที่เราขึ้นเขา“น้ำหนัก” มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขึ้นเขาได้ดีหรือไม่เพราะยิ่งไต่เขาไปยิ่งชันเท่าไหร่น้ำหนักจะถ่วงลงมาในทิศทางตรงข้ามซึ่งนักปั่นที่มีน้ำหนักตัวที่เบากว่าจะได้เปรียบในการขึ้นเขาในส่วนน้ำหนักของรถควรพกเฉพาะอุปกรณ์ที่จะเป็นเนื่องจากยิ่งพกสัมภาระไปกับตัวและรถเยอะยิ่งทำให้ผู้ขี่ต้องออกแรงในการพาตัวเองข้ามเนินข้ามเขาข้ามดอยมากยิ่งขึ้นไปอีก
ถ้าจะถามว่าเอาแต่ไหนดึงจะดี“ผมคงตอบได้ว่าเอาตามความเหมาะสมของคุณเพราะถ้าไปกับเพื่อนมีรถเซอร์วิสก็ไม่น่าจะต้องพกอะไรมากมายแต่ถ้าไปคนเดียวหรือสองคนอันนี้น่าจะต้องกังวลมากกว่าสิ่งที่จะช่วยให้เราตัดสินใจในการพกอุปกรณ์ไปมากน้อยแค่ไหนก็คือการออกแบบจุดพักบนเส้นทางที่ปั่นอันนี้มีผลต่อการพกจำนวนของที่จะเอาไปด้วยอย่างมากเพราะสุดท้ายเมื่อคุณสามารถ“ประเมิน” ได้ว่าระยะทางเท่าไหร่ความชันเท่าไหร่มีใครปั่นบ้างมีการดูแลลหรือดูแลตัวเองก็จะสามารถตอบได้ว่า“เราควรเอาอะไรติดตัวไปบ้างและควรลดน้ำหนักเท่าไหร่
การฝึกซ้อมให้เหมาะสมไม่ควรเร่ง
ไม่มีใครสามารถสำเร็จในการไต่เขาเพียงไม่กี่วัน ก่อนที่จะไปเขาควรต้องมีการซ้อมเพื่อให้ชินกับการออกแรงเพื่อไต่ข้ามเนินผ่านไปให้ได้ มีคำที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆคือ“ไปตามจังหวะของตัวเอง(Pace)” นั่นหมายถึงความแข็งแรงของร่างกายที่สามารถออกแรงได้ซึ่งแต่ละคนไม่เท่ากันดังนั้นการรักษาความเร็วให้อยู่ในช่วงZone 2-3 ในheart rate zone เป็นสิ่งที่ช่วยให้กล้ามเนื้อไม่รับบทหนักมากเกินไป แต่สำหรับนักปั่นบางคนที่เร่งมากๆแล้วไม่ได้ฝึกกล้ามเนื้อและซ้อมมาเพื่อไต่เขาผมบกได้เลยว่ามีแต่“พัง” แน่ๆครับเพราะเราสามารถเห็นความแตกต่างของการเตรียมตัวมาได้อย่างชัดเจนในการไต่เขา
การควงขาเป็นสิ่งที่อาจจะเลี่ยงไม่ได้ในการปั่นขึ้นเขาเนื่องจากเป็นการบริหารให้กล้ามเนื้อแต่ละมัดที่ใช้ในการควงบันไดได้ใช้งานอย่างสมดุลหรือการยืนปั่นสลับนั่งก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยในการสลับกล้ามเนื้อในการออกแรงและช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ใช้ในการควงขาอีกด้ว
จับแฮนด์ให้เหมาะช่วยสบายทั้งขึ้นและลงเขา
เคยสังเกตไหมครับว่าการจับแฮนด์เวลาขึ้นเขาจะมีผลต่อการหายใจซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจของนักปั่นคือถ้าปั่นเสือหมอบแล้วจับdrop จะพบว่าเวลาขึ้นเขาการหายใจจะทำได้ลำบากและการขึ้นเขาไม่ได้ต้องการความ“aero ” เพราะแรงต้านลมไม่ได้เยอะมาก ดังนั้นการจับที่hood ก็เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมในการไต่เขาเพราะร่างกายสามารถหายใจได้ดีแล้วก็ผู้ขี่สามารถบริหารและจัดการท่วงท่าได้ง่ายกว่า ซึ่งมีผลอย่างยิ่งในการถ่ายเทน้ำหนักไปด้านหน้าก็จะมีส่วนช่วยให้ออกแรงได้ดีขึ้น
ในทางกลับกันเวลาลงเขาควรจับ“drop” เนื่องจากจะช่วยให้ร่างกายมีความมั่นคงในการควบคุมรถและถ่ายเทน้ำหนักได้ดีกว่าและการเบรคสามารถเบรคได้ดีกว่าโดยปกติแล้วควรใช้“เบรคหน้า” เพื่อตัดความเร็วและใช้“เบรคหลัง” เพื่อประคองรถในการลงเขาและเข้าโค้งนอกจากนั้นผู้ปั่นควรถ่ายน้ำหนักไปด้านหลังรถเพื่อสร้างจุดศูนย์ถ่วงไม่ให้รถเกิดความสมดุ
ไปลุยให้รู้แล้วออกแบบการปั่นขึ้นลงเขาของตัวคุณเอง
แต่นี้คุณก็น่าจะปั่นไปเที่ยวเขาได้อย่างมีความสุขแล้วล่ะครับที่สำคัญคืออย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยนะครับ