
ถ้าพูดเรือ่งความสุงกับกิจกรรมกีฬา เราคงนึกถึงกีฬาจำพวก บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล กันมากกว่า ส่วนกีฬาอีกหลายต่อหลายชนิดนั้น ความสุงดูจะไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัจจัยสำคัญสักเท่าไหร่ แต่สำหรับจักรยานนั้น เราเคยสังเกตกันหรือไม่ว่า ความสูงนั้นมีผลต่อการเป็นนักปั่นอาชีพมากน้อยเพียงใด จึงได้มีการนำเอาข้อมูลของนักปั่นอาชีพมาทำการศึกษาหาความแตกต่างของนักปั่นจักรยานดูว่าจะมีประเด็นน่านำไปศึกษาต่ออย่างไรบ้างนั่นเอง
และจากข้อมูลต่างๆที่เก็บมาได้ พบว่า นักปั่นที่มีความสูงเแลี่ยมากที่สุดคือนักปั่นแบบไทม์ไทรอัล เพราะพวกเขาต้องการ”กำลัง”ในการขับเคลื่อนสร้างความเร็เป็นระยะเวลานานๆได้ดี ทำหใ้คนที่ตัวสูงจะมีความได้เปรียบกว่าอย่างไม่ต้องสงสัย รองลงมาคือนักปั่นแกรนด์ทัวร์ หรือสามารถแข่งทัวร์ระยะยาวๆหลายๆวันได้ดีมากเช่นกัน ปัจจัยสำคัญของการเป็นนักปั่นประเภทนี้ที่ประสบความสำเร็จคือความจำเป็นต้องมีทั้งการขี่ไทม์ไทรอัลระยะกลางได้ดี ผสมกับการไต่เขาได้อย่างยอดเยี่ยมด้วย นั่นทำให้นักปั่นร่างสูงใหญ่มักไม่สามารถไปได้ดีนักในการเป็นนักปั่นประเภทนี้ อันดับต่อมาคือบรรดาสปรินท์เตอร์จรวดทางราบทั้งหลาย จากสถิติที่รวบรวมพบว่า พวกเขามีสัดส่วนความสูงเทียบกับนักปั่นทั้งสองชนิดที่กล่าวมาแล้วน้อยกว่าอย่างเป็นประเด็น แน่นอนว่าพวกเขาต้องระเบิดพลังระยะสั้นบนทางราบได้ดี แต่ร่างกายที่สูงใหญ่จนเกินไปอาจเป็นภาระในการรักษาความเร็วเอาไว้ให้ได้ ดังนั้น บรรดาสปรินท์เตอร์ชั้นนำจึงมีค่าความสูงเฉลี่ยน้อยกว่านั่นเอง และสุดท้ายคือนักปั่นพวกนักไต่เขานั่นเอง เพราะสายเขาใช้น้ำหนักตัวเป็นเครื่องชี้วัด ดังนั้น นักปั่นร่างเล็กหลายๆคนจึงไปได้ดีมากกับการไต่เขาไปด้วยนั่นเอง
ทว่าทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จะนำมาจำแนกนักปั่นได้อย่างแน่นอนเสมอไป เพราะในการแข่งจักรยาน เส้นทางและระยะทางแข่งก็มีความแตกต่างกัน สปรินท์เตอร์ร่างใหญ่หายไๆคน ไปได้ดีมากกับการแข่งทางไกลด้วย เพราะพวกเขาสามารถยืนพื้นรับมือกับความเร็วของนักปั่นทรงพลังได้อย่างดี และสปรินท์ปิดเกมส์งได้ในจุดเส้นชัย ส่วนนักปั่นสายเขาอีกหลายๆคนก็สามารถขี่ไทม์ไทรอัลได้ดีมากเช่นกัน และกลายเป็นนักปั่นแกรนด์ทัวร์คนสำคัญไปได้ แน่นอนว่าพวกเขาเสียเปรียบนักปั่นไทม์ไทรอัลอย่างไม่ต้องสงสัย แต่จากความโดดเด่นบเขา ทำให้เขาสามารถทำเวลารวมชนะจนกลายเป็นนักปั่นแกรนด์ทัวร์ที่ตัวไม่สุงมากได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ความสุงของนักปั่นนั้น เทียบกับกีฬาอื่นๆนับว่ามีค่าเฉลี่ยความสุงไม่มากเลย เพราะความสูงโดยรวมพวกเขาสุงราวๆ 170 ซม. เท่านั้น ในขณะที่มีสถิตินักปั่นที่สูงน้อยที่สุดอยู่ที่ 154 ซม. (แน่นอนว่าสายเขาแท้จริง) ในทางกลับกัน นักปั่นที่สูงที่สุดคือ 204 ซม. ซึ่งเป็นของนักปั่นสายคลาสสิคและไทม์ไทรอัลระดับโปรทัวร์ และหากนำนักปั่นที่สุงกว่า 2 เมตรในเปโลตองของโปรมาคิดเทียบสัดส่วนแล้วพบว่าพวกเขามีประชากรเพียงเลขโดนในการหาร้อยละต่อประชากรโปรนักปั่นทั้งหมดเท่านั้น ที่สำคัญที่สุด พวกเขาทุกคนต้องการเฟรมจักรยานที่สั่งทำพิเศษเพื่อพวกเขาเท่านั้นด้วยเช่นกัน (รวมถึงนักปั่นชายหลายๆคนที่สูง 150 กว่าๆ)
นอกจากนี้ UCI ยังทำการเก็บข้อมุลของนักปั่นที่สูงกว่า 190 ซม. ในทุกๆการแข่งขันเอาไว้ เพราะพวกเขา จะมีข้อบังคับพิเศษสำหรับมิติรถที่สามารถใช้ได้ในการขี่ไทม์ไทรอัลแตกต่างจากนักปั่นคนอื่นๆด้วย นั่นแสดงว่า ในการหาเกณฑ์ที่เหมาะสม ความสูงที่มากกว่า 190 ซม. ก็ถูกจัดว่า”เกิน” ไปจากค่ามาตรฐฐานปกติแล้วนั่นเอง
แน่นอนว่า ยังไม่มีการศึกษาใดๆบอกได้ว่า ความสูงนั้นเป็นปัจจัยและอุปสรรคสำคัญกับการเป็นนักจักรยานหรือไม่ แต่จากธรรมชาติของนักปั่นในแต่ละชนิด เราก็จะพบว่าปัจจัยนั้นคือสิ่งที่ได้จากการเทียบระหว่าง กำลัง และ น้ำหนักตัวมากกว่า เมื่อสิ่งเหล่านี้ผสมกัน ความสุงจึงเป็นตัวแปรตามที่ร่วมมาในขั้นต่อไปนั่นเอง ความเป็นจริงที่พบก็คือไม่ว่าคุณจะสูงหรือเตี้ย หากมีการฝึกซ้อมที่เหมาะสม ไปได้ถูกทาง และอยู่บนเส้นทาง ชนิดการแข่งที่เหมาะสมแล้ว คุณก็สามารถเป็นนักปั่นที่ดีได้ในแบบที่คุณเป็น แต่จะไได้ถึงระดับไหนนั้น นอกจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญ นักจักรยานคนนั้นๆคงต้องเกิดมาพร้อมกับ ชะตาและโอกาสที่มาพร้อมกันด้วย เข้าทำนอง ถูกที่ ถูกทาง ถูกเวลา
ส่วนคนทั่วๆไปอย่างเราๆนั้น จะสูง ต่ำ ดำ ขาว จักรยานคือกิจกรรมเพื่อสุขภาพเชิงสังคมที่ทุกคนสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งได้อย่างไม่มีกำแพงกั้น อย่าให้”กรรม” ที่กำเนิดเกิดมาแตกต่างกันเป็นเครื่องขีดแบ่งว่ายานคันเก่งของคุณจะวิ่งไปได้ต่อหรือเปล่า เพราะคุณจะสูงโย่งปั่นขึ้นเขาได้ช้า หรือเตี้ยป้อมขี่ทางราบแล้วหลุดกลุ่ม แต่ความสุขของพวกเราทุกคนบนอานจักรยาน มีไม่แตกต่างกันเลย