
ค่า FTP หรือ Functional Threshold Power เป็นค่าสำคัญสำหรับการฝึกซ้อมจักรยานด้วยวัตต์หรือพาวเวอร์มิเตอร์ ซึ่งก็มีวิธีการหาค่านี้อยู่มากมาย ทั้งทางห้องปฎิบัติการ และวิธีง่ายๆที่ทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การขี่เต็มที่ 20 นาที แล้วนำค่าวัตต์ที่ได้มาคำนวนออกมา รองลงมาก็คือการทดสแบแบบปั่นเต็มที่แล้วเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ และวิธีที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดแต่ถูกใช้ในระดับนักกีฬาชั้นสูงมากที่สุดคือ การปั่นหนึ่งชั่วโมงแล้วนำค่านั้นมาเป็น FTP ที่น่าจะแม่นยำที่สุดตามนิยาม
อย่างไรก็ตาม การทดสอบด้วย การปั่นเต็มที่ 20 นาที ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด(จนมีแสดงผลการปั่นในไมล์จักรยาน Garmin และค่ายอื่นๆ) มักจะได้ผลที่ไม่แม่นยำเท่าที่ควร เนื่องจาก การปั่นแบบนี้มีแนวโน้มที่จะได้ค่า FTP สูงเกินจริง เมื่อนำไปเข้าตารางฝึกซ้อม จะได้ความหนักและความเข้มข้นของโปรแกรมที่มากเกินไป อาจส่งผลกเสียได้ในนักปั่นที่มีตารางซ้อมเข้มมากๆ เหตุผลสำคัญก็คือ หากค่าที่ได้ใน 20 นาทีนี้ เกิดจากการปั่นที่เแลี่ยแรงไม่ราบเรียบ มีการใช้แรงจากระบบพลังงานแบบ อะแนโรบิคเข้ามาช่วยเค้นผสม ก็จะเกิดผลค่าวัตต์ที่สูงกว่าจริงได้ รวมถึงหากค่านี้ได้จากการปั่นที่มีการระเบิดพลังบ่อยๆเช่น การไต่เขาแบบดุเดือด หรือ การขี่แบบไครทีเรียม ตลอดจน การขี่ที่เน้นผลิตพลังวัตต์มากๆในเวลาไม่นานเกินไป นักปั่นคนนั้นก็จะได้ค่าวัตต์ที่สุงกว่าจริงเมื่อเทียบกับการปั่นหนึ่งชั่วโมง ซึ่งส่งผลให้ได้ค่า FTP สูงเกินไปด้วย
ดังนั้น จึงมีการศึกษาโดยกลุ่มผู้ฝึกสอนของ TrainingPeak พบว่า การนำสูตรการปั่นเต็มที่ 30 านที ที่เคยใช้ในการทดสอบหา LTHR (Lactate Threshold Heart Rate) มาใช้ จะได้ค่าวัตต์ที่แปลงมาเป็น FTP ได้ใกล้เคียงค่าจริงมากกว่า เพราะ ลดโอกาสที่จะเกิดการระเบิดพลังให้น้อยลง ให้ได้ค่าวัตต์ที่นิ่งขึ้น ซึ่งเหมาะกับนักปั่นที่เพิ่งเริ่มสัมผัสกับวัตต์แรกๆมากกว่า
โดยมีขั้นตอนดังนี้
วอร์มอัพ ตามปกติให้ร่างกายพร้อม
ปั่นเแลี่ยแรงเต็มที่ในระยะเวลา 30 นาที
10 นาทีแรก ไม่นำค่ามาใช้
20 นาทีสุดท้ายนำค่า Normalized Power (NP) มาคูณด้วย 0.95
นอกจากได้ค่า FTP ที่แม่นยำขึ้น เรายังได้ค่า LTHR (ค่าหัวใจเฉลี่ย 20 นาทีสุดท้าย) มาใช้อีกด้วย ซึ่งนำมาเทียบโซนความเข้มข้นแล้ว จะได้โซนที่แม่นยำกว่าการเทียบสัดส่วนกับ maxHR ที่คุ้นเคยกัน