ก็ถือเป็นเรื่องปกตินะครับ ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า จะต้องมีแบตเตอรี่กัน และพาวเวอร์มิเตอร์ก็เช่นกัน พวกมันใช้ไฟฟ้าในการทำงาน ทั้งการตรวจจับแรงบิโดยปกตินั้น พาวเวอร์มิเตอร์ส่วนใหญ่ จะใช้พลังงานจากถ่านไฟฉายมาตั้งแต่ยุคแรกๆ ไม่ว่าจะเป็นถ่านกระดุมเล็ก แบบถ่านกระดุมใหญ่ ไปจนถึงถ่านไฟฉายแบบแท่งปกติ

 

แต่ในระยะหลังมานี้ เราจะเริ่มสังเกตุได้ว่า พาวเวอร์มิเตอร์ใหม่ๆ มักจะมาพร้อมกับการบิลด์อินแบตเตอรี่เอาไว้ภายในและสามารถชาร์จไฟเพื่อใช้งานได้ตามต้องการไม่ต้องไปหาซื้อถ่านมาใส่กันเมื่อยามถ่านหมด แต่คำถามคือ อะไรเป็นผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน อะไรสะดวกมากกว่ากัน? เราลองมาวิเคราะห์กันดูสักนิดในวันนี้

 

การซื้อถ่านมาใส่ นั้นถือเป็นเรื่องปกติที่เราชินกันอยู่แล้ว ถ่านเหล่านี้ก็ไม่ได้หาได้ยากเย็นอะไร นอกจากพาวเวอร์มิเตอร์บางรุ่นที่ต้องใช้ถ่านที่สเป็คค่อนข้างแตกต่างจากในร้านสะดวกซื้อนั่นแหละ แต่อย่างไรก็ตาม ถ่านกระดุมบางรุ่นก็ไม่ได้มีขายได้ทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ ว่ากันตามที่เราเคยทดสอบมา พาวเวอร์มิเตอร์ที่ใช้แบตเตอรี่ที่สะดวกที่สุดคงเป็น PowerTap P1 ที่ใช้ถ่านไฟฉายแบบ AA ธรรมดาเลย เพราะมันหาซื้อได้ง่ายมากๆ เรียกว่าในบ้านเรา หมดที่ไหน มองหาร้านขายของ ก็หาใส่ได้ทันที นอกนั้น คงต้องมีการสำรองติดบ้าน ติดกระเป๋าใต้เบาะกันไว้บ้างเผื่อหมดแล้วไม่ยากขี่ต่อไปแบบไม่มีวัตต์ดู

ปัญหาอักข้อของระบบวัตต์ใส่ถ่าน พบกันบ่อยในหลายต่อหลายรุ่น หลายยี่ห้อคือ เมื่อถ่านเกิดไม่พอดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ผลของมันก็ทำให้ค่าวัตต์เพี้ยนไปบ้างจากการติดๆดับๆของตัวพาวเวอร์มิเตอร์ หรือดับตายหายไปดื้อๆเลยก็เคยเจอ รวมถึงจุดที่เป็นฝาปิดถ่านนี้เองที่มักจะเกิดความเสียหาย แตกหัก หลุดได้ง่าย เพราะแทบจะทุกยี่ห้อ มักจะใช้พลาสติคและซัลกันที่ฝาเท่านั้น น้อยรายมากๆที่จะใช้โลหะมาเป็นฝาปิดใส่ถ่าน

 

ส่วนวัตต์หลายๆตัวมาพร้อมกับแบตเตอรี่ภายใน คุณ”ม่ต้องมานั่งใส่ถ่านให้มันเสียเวสา ไม่ต้องมีช่องเปิด ไม่ต้องมีปัจจัยอะไรให้วุ่นวาย พอถ่านหมด ก็เอากลับบ้านมาเสียบชาร์จไฟไม่นาน ก็ใช้ได้อักเป็นเดือนๆ แน่ล่ะครับ มันช่วยประหยัดค่าถ่านไปได้ไม่มากก็น้อย

แต่ปัญหาหลักๆคือ คุณไม่มีทางจัดการแก้ปัญหาระหว่างทางได้ง่ายเลย กรณีวัตต์ใส่ถ่าน คุณเพียงพกหรือทำอย่างไรก็ได้ให้มีถ่านสำรองอยู่กับตัว มันหมดเมื่อไหร่ ก็จัดการถอดมาเปิดฝาเปลี่ยนได้ทันที ขี่ต่อได้มีวัตต์ดู แต่วัตต์พวกที่ฝังแบตฯเอาไว้ภายใน ต่อให้คุณสามารถเสียบพาวเวอร์แบ็งค์ชาร์จไฟได้ ต่อให้คุณมีความรอบคอบพกพาวเวอร์แบ็งค์และสายต่อไปด้วย แต่คุณก็น่าจะต้องจอดหากาแฟกินซักแก้ว ให้เวลาชาร์จแบตฯกันสักนิด

อักประการที่น่าคิดคือ แบตเหล่านี้มีอายุการใช้งานทั้งสิ้น ในระยะยาวเรายังไม่มั่นใจในอายุการใช้งานของมัน หากแบตเตอรี่เสื่อม จะสามารถถอดเปลี่ยนได้เหมือนสมาร์ทโฟนที่ฝังแบตฯในตัวหรือไม่ ผ่านไป 2-3 ปี แบตเตอรี่ยังสามารถเก็บไฟและชาร์จได้ดัเหมือนเดิมแค่ไหน ก็ยังคงเป็นคำถาม

 

เอาล่ะครับ แล้วคุณคิดว่า ทางไหนจะเป็นทางออกที่ดักว่ากัน ระหว่างใส่ถ่าน กับจาร์จไฟ?

Tag :: Power Meter
January 31, 2019 cyclinghub 0 Comment