โลกนี้มันหมุนผ่านไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน เผลอเพียงไม่นาน โทรศัพท์โนเกียรุ่นเกมส์งูก็เข้าพิพิฒภัณฑ์ไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนอุปกรณ์ไฮเท็คอย่างปาล์มที่เคยโก้หรู ก็เป็นเพียงหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ก่อนการมาของสมาร์ทโฟนเท่านั้น และจัรกยานเองก็เช่นกัน เมื่อมองถึงจักรยานที่จะสะสมกันได้ คงคิดกันถึงแต่ เสือหมอบสับถัง ยุค 80ห สุดคลาสสิคสินะครับ แต่นั่นเริ่มไม่ใช่อีกต่อไป เพราะทุกวันนี้ จัรกยานที่ออกมาในช่วงต้นๆของศตวรรษที่ 21 ก็เริ่มมีความต้องการในตลาดสะสมเรียบร้อยแล้ว ต่อไปนี้คือ 5 จักรยานที่เราเพิ่งเห็นมาไม่นาน และกำลังถูกเก็บเข้าห้องสะสมอย่างเลอค่าในเวลานนี้

Colnago C50

nago C50คันแรกนั้นคงไม่ต้องอธิบายกันอย่างมากครับ กับแบรนด์นี้ ซีรีส์นี้ ที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการเป็นจักรยานระดับสะสม ด้วยการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ การผลิตที่ยังคงสุดพิถีพิถันแบบต้นตำรับ ไปจนถึงงานสีระดับเทพที่แต่ละคันมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง นั่นทำให้ C50 ถือเป็นซีรีส์ท้ายสุดที่ยังคงครบถ้วนด้วยคุณสมบัติทั้งหมด แน่นอนว่า มูลค่าของมันอาไม่สูงเท่าซีรีส์ก่อนหน้านี้ แต่นี่คือ เสือหมอบอายุเกือบๆ 20 ปี ที่หากคุณมีแล้วห้ามขายอย่างเด็ดขาด

Giant TCR Advanced

คงยากจะเชื่อกันครับว่า แบรนด์นี้จะเข้าข่ายจัรกยานสะสมกับเขาได้ เพราะในบ้านเราราคาช่างรูดลงต่ำอย่างมาก แต่ ถ้าคุณมีรุ่นนี้ สภาพสวย งานสีดีเยี่ยม และประกอบกับอะไหล่ชุดขับช่วงปี 2003 ศึ่งต้องเป็นแคมปัญโญโล นะครับ ไม่ใช่ชิมาโน จะทำให้ “ทีซีอาร์ อองเซ่” ปี 2003 รับรองได้ว่าเปิดประมูลแล้วราคาพุ่งกระฉูดอย่างไม่ต้องสงสัย ถึงนี่จะไม่ใช่รุ่นกำเนิด(รุ่นแรกเกิดเมื่อปี 1994) แต่มันคือรุ่นที่โด่งดังที่สุดของ TCR

Bianchi FG Lite Alu-Nude

สำหรับเฟรมต่อไปนี้ ถือเป็นไอเท็มลับที่หาได้ไม่ง่ายเลย เพราะมันคือเฟรมอลูมินั่มระดับท็อปสุดๆที่มาล้ำยุคมากๆ ด้วยน้ำหนักเฟรมเพียง 1000 กรัม เท่านั้น ในเวลานั้นมันเบาเสียยิ่งกว่าเฟรมคาร์บอนบางตัวเสียด้วยซ้ำ และยังคงเทียบชั้นได้กับเฟรมอลูฯระดับท็อปๆทุกวันนี้ ส่วนที่ต้องเป็นสีอลูฯก็เพราะ สีนี้ผลิตออกมาน้อยมากๆเพียงล็อตเดียวเท่านั้น ถ้าใครมีและดูแลให้สภาพสวย จับใส่ Record 10 ราคาทั้งคันในตอนนี้น่าจะทะลุ 2 แสนบาทได้เลย

Klein Quantum II 1994

ถ้าพูดมาถึงเฟรมอลูฯกันขนาดนี้ ถ้าไม่พูดถึงรุ่นนี้คงไม่ได้แล้วครับ สำหรับตำนานเทพอลูฯของแท้ และต้องมาเป็นปีนี้ด้วยนะครับ เพราะในปีต่อมา(1995) ไคลน์ โดนทเร็ค ซื้อกิจการไปเป็นที่เรียบร้อย ความรู้ทางด้านอลูฯของแบรนด์นี้จึงไปเป็นจุดกำเนิดให้เฟรมอลูฯของทเร็คก้าวกระโดดในเวลาต่อมา สำหรับโอตาคุจักรยาน หากหารุ่นนี้ได้ต้องบอกว่ามันมีค่าดั่งทอง ยิ่งไซส์คนไทยยิ่งหายากมาก ด้วยความพิเศษของเฟรม การผลิตด้วยงานฝีมือในอเมริกา และงานสีที่โดดเด่นจนคนบอกว่า “หากจะจ้างคนทำสีแบบไคลน์ ซื้อเฟรมไคลน์ให้ได้จะราคาถูกกว่า”

Pinarello Dogma FP Magnesium

ในช่วงของการค้นหาวัสุดที่เหมาะสม แม็กนีเซียมเป็นหนึ่งในวัสดุที่ค่ายจักรยานต่างก็พยายามนำมาพัฒนาเป็นเฟรมจักรยานให้สำเร็จ แต่ด้วยความยากของการเชื่อมที่แทบจะไม่มีทางทำได้ ความกระด้างและการฉีกขาดได้ง่ายของแม็กนีเซียม กลายเป็นอุุปสรรคสำคัญของวัสดุนี้ แต่ พินาเรลโล สามารถทำลายกำแพงได้ด้วยการออกรุ่น ด็อกมา เอฟพี แม็กนีเซียม ออกมา ที่สำคัญ หางและตะเกียบที่โค้งงอนั้นก็คาดกันว่า แท้ที่จริง เกิดขึ้นมาระหว่างการพัฒนาเฟรมตัวนี้นี่เอง

March 16, 2020 cyclinghub 0 Comment